Skip to Content

กฎกระทรวง ฉบับที่ 389 (พ.ศ. 2566) การลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย (e-Withholding Tax) แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 144

กฎกระทรวง

ฉบับที่ 389 (พ.ศ. 2566)

ออกตามความในประมวลรัษฎากร

ว่าด้วยภาษีเงินได้

 

 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2521 และมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ให้ยกเลิกความใน (17/5) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 373 (พ.ศ. 2564) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“(17/5) การจ่ายเงินได้พึงประเมินดังต่อไปนี้ที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2568 และผู้มีหน้าที่น าส่งภาษีได้ด าเนินการตามวิธีนำส่งที่กำหนดตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร ร้อยละ 1.0

(ก) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากรให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้และมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร

(ข) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากรเฉพาะที่เป็นเงินได้จากค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้และมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร

(ค) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (ก) แห่งประมวลรัษฎากรให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้และมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศก าหนดตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่รวมถึงการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร ที่เป็นค่าเช่าเรือตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพาณิชยนาวีที่ใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

(ง) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) และ (7) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้และมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร

(จ) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากรเฉพาะที่เป็นการจ่ายรางวัลในการประกวด การแข่งขัน การชิงโชค หรือการอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้และมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร

(ฉ) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากรเฉพาะที่เป็นการจ่ายค่าแสดงให้แก่นักแสดงสาธารณะซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย

คำว่า “นักแสดงสาธารณะ” หมายความว่า นักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุหรือโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใดๆ

(ช) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากรเฉพาะที่เป็นเงินได้จากการจ้างทำของ การจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ค่าโฆษณา และการให้บริการอื่นๆ นอกเหนือจากกรณีที่ก าหนดไว้ใน (3) (16) และ (17) แต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าบริการของโรงแรม ค่าบริการของภัตตาคาร และค่าเบี้ยประกันชีวิตให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้และมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศก าหนดตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร

คำว่า “การให้บริการ” หมายความว่า การกระท าใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่การขายสินค้า

คำว่า “ภัตตาคาร” หมายความว่า กิจการขายอาหารหรือเครื่องดื่มไม่ว่าชนิดใดๆ รวมทั้งกิจการรับจ้างปรุงอาหารหรือเครื่องดื่ม ทั้งนี้ ไม่ว่าในหรือจากสถานที่ซึ่งจัดให้ประชาชนเข้าไปบริโภคได้”

ให้ไว้ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

________________________________________

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราที่ลดลงจากที่กำหนดไว้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินบางประเภทที่ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีเงินได้ดำเนินการตามวิธีนำส่งที่ก าหนดตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร และได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2568 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการนำส่งภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)