ป. 109/2545 เรื่อง การส่งออกสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร
(1) หลักฐานที่แสดงว่าผู้ซื้อในเขตปลอดอากรซื้อสินค้าจาก ผู้ประกอบการจดทะเบียนจริง เช่น Proforma Invoice หรือ Purchase Order หรือ Order Note หรือเอกสารอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน(2) หลักฐานที่แสดงว่าจะมีการชำระราคาค่าสินค้าตามใบกำกับ สินค้า (Invoice) ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน เช่น หลักฐานการเปิด L/C (Letter of Credit) หรือหลักฐานการจัดทำ T/T (Telex Transfer) หรือ T/P (Term of Payment) หรือเอกสารที่ระบุว่านำเงินเข้าบัญชีธนาคาร หรือ Bank Statement เป็นต้น คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 109/2545 เรื่อง การส่งออกสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนำผู้ประกอบการจดทะเบียนกรณีการส่งออกสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.97/2543 เรื่อง การส่งออกสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนนำสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1(21) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งถือเป็นการส่งออกตามมาตรา 77/1(14)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้ พร้อมที่จะให้ เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ (1) หลักฐานที่แสดงว่าผู้ซื้อในเขตปลอดอากรซื้อสินค้าจาก ผู้ประกอบการจดทะเบียนจริง เช่น Proforma Invoice หรือ Purchase Order หรือ Order Note หรือเอกสารอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน (2) หลักฐานที่แสดงว่าจะมีการชำระราคาค่าสินค้าตามใบกำกับ สินค้า (Invoice) ในนามของผู้ประกอบ การจดทะเบียน เช่น หลักฐานการเปิด L/C (Letter of Credit) หรือหลักฐานการจัดทำ T/T (Telex Transfer) หรือ T/P (Term of Payment) หรือเอกสารที่ระบุว่านำเงินเข้าบัญชีธนาคาร หรือ Bank Statement เป็นต้น (3) หลักฐานสำเนาคำร้องขอนำสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากรตามแบบที่กรมศุลกากรกำหนดในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งเจ้าหน้าที่ศุลกากรรับรองแล้ว หรือสำเนาใบขนสินค้าขาออกในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ผ่านพิธีการศุลกากรฉบับที่มีการสลักหลังการตรวจปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร หรือใบขนสินค้าขาออกฉบับมุมสีน้ำเงิน สำหรับกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ขอใช้สิทธิรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรหรือขอคืนอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร และส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อในเขตปลอดอากรเมื่อความ รับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ตามมาตรา 78 และมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร โดยระบุอัตราภาษีร้อยละ 0” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.97/2543 เรื่อง การส่งออกสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการอยู่ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร หรือประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1(21) แห่งประมวลรัษฎากร ในการขายสินค้าระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับคลังสินค้าทัณฑ์บน ระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากร หรือระหว่างผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากรไม่ว่าจะอยู่ในเขตปลอดอากรเดียวกันหรือไม่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ (1) หลักฐานที่แสดงการซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ประกอบการจดทะเบียนในคลังสินค้าทัณฑ์บนกับคลังสินค้าทัณฑ์บน ระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากร หรือระหว่างผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากรไม่ว่าจะอยู่ในเขตปลอดอากรเดียวกันหรือไม่ เช่น Proforma Invoice หรือ Purchase Order หรือ Order Note หรือเอกสารอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน (2) หลักฐานที่แสดงว่าจะมีการชำระราคาค่าสินค้าตามใบกำกับสินค้า (Invoice) ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน เช่น หลักฐานการเปิด L/C (Letter of Credit) หรือหลักฐานการจัดทำ T/T (Telex Transfer) หรือ T/P (Term of Payment) หรือเอกสารที่ระบุว่านำเงินเข้าบัญชีธนาคาร หรือ Bank Statement เป็นต้น (3) หลักฐานสำเนาหนังสือขออนุญาตต่อการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเพื่อนำของออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออก หรือสำเนาใบขนคลังสินค้าทัณฑ์บนตามแบบที่กรมศุลกากรกำหนดซึ่งเจ้าหน้าที่ศุลกากรรับรองแล้ว หรือสำเนาคำร้องขอนำสินค้าเข้าไปในเขตปลอดอากรตามแบบที่กรมศุลกากรกำหนดซึ่งเจ้าหน้าที่ศุลกากรรับรองแล้ว หรือสำเนาใบขนสินค้าขาออกที่ผ่านพิธีการศุลกากรฉบับที่มีการสลักหลังการตรวจปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร และส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อในคลังสินค้าทัณฑ์บนหรือในเขตปลอดอากร แล้วแต่กรณี เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 78 และมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร โดยระบุอัตราภาษีร้อยละ 0” สั่ง ณ วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2545 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร |