ข้อ 11 ดอกเบี้ย
1. ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งและได้จ่ายให้แก่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งอาจเก็บภาษีได้ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งนั้น 2. อย่างไรก็ตาม ดอกเบี้ยเช่นว่านั้นอาจเก็บภาษีได้ในรัฐผู้ทำสัญญาซึ่งดอกเบี้ยนั้นเกิดขึ้นและตามกฎหมายของรัฐนั้น แต่ถ้าผู้รับเป็นเจ้าของที่ได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ย ภาษีที่เรียกเก็บจะต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนดอกเบี้ยทั้งสิ้น ในกรณีที่ดอกเบี้ยนั้นได้รับโดยสถาบันการเงิน (รวมทั้งบริษัทประกันภัย) 3. แม้จะมีบทบัญญัติของวรรค 2 ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งและได้จ่ายให้แก่รัฐบาลของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง จะได้รับการยกเว้นภาษีในรัฐผู้ทำสัญญาที่กล่าวถึงรัฐแรก เพื่อความมุ่งประสงค์แห่งวรรคนี้ คำว่า "รัฐบาล" (ก) ในกรณีของประเทศไทย หมายถึงรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และให้รวมถึง (1) ธนาคารแห่งประเทศไทย (2) องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และ (3) สถาบันการเงินต่างๆ ซึ่งทุนของสถาบันนั้นเป็นของ รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยหรือองค์การบริหารส่วน ท้องถิ่นทั้งหมดตามที่อาจตกลงกันเป็นคราวๆ ไประหว่าง เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐ (ข) ในกรณีของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน หมายถึง รัฐบาลแห่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และให้รวมถึง (1) ธนาคารแห่งประชาชนจีนและธนาคารแห่งประเทศจีนเท่า ที่กิจกรรมของธนาคารนั้นที่ดำเนินการอยู่ในขอบเขต อำนาจตามปกติของธนาคารกลาง (2) องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และ (3) สถาบันการเงินต่างๆ ที่ทุนของสถาบันนั้นเป็นของรัฐบาล แห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือองค์การบริหาร ส่วนท้องถิ่นทั้งหมดตามที่อาจตกลงกันเป็นคราวๆ ไป ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐ 4. คำว่า "ดอกเบี้ย" ที่ใช้ในข้อนี้หมายถึงเงินได้จากสิทธิเรียกร้องหนี้ทุกชนิดไม่ว่าจะมีหลักประกันจำนองหรือไม่ และไม่ว่าจะมีสิทธิร่วมกันในผลกำไรของลูกหนี้หรือไม่ และโดยเฉพาะเงินได้จากหลักทรัพย์รัฐบาลและเงินได้จากหุ้นหรือหุ้นกู้ รวมทั้งพรีเมี่ยมและรางวัลอันผูกพันกับหลักทรัพย์ หุ้นหรือหุ้นกู้ดังกล่าว รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกับเงินได้จากการให้กู้ยืมเงินตามกฎหมายภาษีอากรของรัฐผู้ทำสัญญาซึ่งเงินได้นั้นเกิดขึ้น เบี้ยปรับสำหรับการชำระที่เกินกำหนดจะไม่ถือว่าเป็นดอกเบี้ยตามความมุ่งประสงค์ของข้อนี้ 5. บทบัญญัติของวรรคที่ 1 และ 2 จะไม่ใช้บังคับ ถ้าเจ้าของที่ได้รับผลประโยชน์จากดอกเบี้ยเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง ประกอบธุรกิจในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง ซึ่งดอกเบี้ยนั้นเกิดขึ้น ผ่านสถานประกอบการถาวรที่ตั้งอยู่ในรัฐนั้น หรือกระทำการในอีกรัฐหนึ่งโดยให้บริการส่วนบุคคลที่เป็นอิสระจากฐานประกอบการประจำที่ตั้งอยู่ในรัฐนั้น และสิทธิเรียกร้องหนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยที่จ่ายมีส่วนเกี่ยวข้องในประการสำคัญกับสถานประกอบการถาวรหรือฐานประกอบการประจำนั้น ในกรณีเช่นนี้จะใช้บัญญัติของข้อ 7 หรือข้อ 14 บังคับแล้วแต่กรณี 6. ดอกเบี้ยจะถือว่าเกิดขึ้นในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งเมื่อผู้จ่ายคือรัฐบาลของรัฐผู้ทำสัญญานั้นเอง ส่วนราชการ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นหรือผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐนั้น อย่างไรก็ตาม กรณีบุคคลผู้จ่ายดอกเบี้ยไม่ว่าจะเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งหรือไม่ก็ตาม มีสถานประกอบการถาวร หรือฐานประกอบการประจำในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งอันก่อให้เกิดหนี้ที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยขึ้นและดอกเบี้ยนั้นตกเป็นภาระแก่สถานประกอบการถาวรหรือฐานประกอบการประจำเช่นว่านั้นและดอกเบี้ยนั้นจะถือว่าเกิดขึ้นในรัฐซึ่งสถานประกอบการถาวรหรือฐานประกอบการประจำนั้นตั้งอยู่ 7. กรณีที่โดยเหตุแห่งความสัมพันธ์พิเศษระหว่างผู้จ่ายและเจ้าของที่ได้รับประโยชน์หรือระหว่างบุคคลทั้งสองกับบุคคลอื่น จำนวนเงินดอกเบี้ยที่จ่ายนั้นเมื่อคำนึงถึงสิทธิเรียกร้องหนี้อันเป็นมูลเหตุแห่งการจ่ายดอกเบี้ยแล้ว มีจำนวนเกินกว่าจำนวนเงินซึ่งควรจะได้ตกลงกันระหว่างผู้จ่ายกับเจ้าของที่ได้รับประโยชน์หากไม่มีความสัมพันธ์เช่นว่านั้น บทบัญญัติของข้อนี้จะใช้บังคับเฉพาะแต่เงินจำนวนหลัง ในกรณีเช่นนั้นส่วนเกินของเงินที่ชำระยังคงเก็บภาษีได้ตามกฎหมายของรัฐผู้ทำสัญญาแต่ละรัฐ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงบทบัญญัติอื่นๆ แห่งความตกลงนี้ด้วย |