Skip to Content

ข้อ 4 ผู้มีถิ่นที่อยู่

1. เพื่อความมุ่งประสงค์แห่งความตกลงนี้ คำว่า "ผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง" หมายถึง บุคคลใดๆ ผู้ซึ่งภายใต้กฎหมายของรัฐนั้น มีหน้าที่เสียภาษีในรัฐนั้น โดยเหตุผลแห่งการมีภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ สถานที่จดทะเบียนจัดตั้ง สถานจัดการ สถานธุรกิจหลัก หรือโดยเกณฑ์อื่นใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และรวมถึงรัฐนั้นหรือองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นของรัฐนั้น อย่างไรก็ตาม คำนี้มิให้รวมถึง บุคคลใดๆ ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีในรัฐนั้นด้วยเหตุเฉพาะการมีเงินได้จากแหล่งในรัฐนั้นแต่เพียงอย่างเดียว

2. ในกรณีที่โดยเหตุผลแห่งบทบัญญัติของวรรค 1 บุคคลธรรมดาเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐ ให้กำหนดสถานภาพของบุคคลดังกล่าวดังต่อไปนี้

(ก) ให้ถือว่าบุคคลนั้นเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่เฉพาะในรัฐซึ่งบุคคลนั้นมีที่อยู่ถาวร ถ้าบุคคลนั้นมีที่อยู่ถาวรใน ทั้งสองรัฐ ให้ถือว่าเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่เฉพาะในรัฐซึ่งบุคคลนั้นมีความสัมพันธ์ทางส่วนตัว และทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกว่า (ศูนย์กลางของผลประโยชน์อันสำคัญ)

(ข) ถ้าไม่อาจกำหนดรัฐซึ่งบุคคลนั้นมีศูนย์กลางของผลประโยชน์อันสำคัญ หรือถ้าบุคคลนั้นไม่มี ที่อยู่ถาวรในรัฐใดรัฐหนึ่ง ให้ถือว่าบุคคลนั้นเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่เฉพาะในรัฐที่บุคคลนั้นมีที่อยู่เป็น ปกติวิสัย

(ค) ถ้าบุคคลนั้นมีที่อยู่เป็นปกติวิสัยในทั้งสองรัฐหรือไม่มีที่อยู่เป็นปกติวิสัยในทั้งสองรัฐ ให้ถือว่าบุคคลนั้นเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่เฉพาะในรัฐที่บุคคลนั้นเป็นคนชาติ

(ง) ถ้าบุคคลนั้นเป็นคนชาติของทั้งสองรัฐ หรือไม่เป็นคนชาติของทั้งสองรัฐ ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ ของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐแก้ไขปัญหาโดยความตกลงร่วมกัน

3. ในกรณีที่โดยเหตุผลแห่งบทบัญญัติของวรรค 1 บุคคลนอกเหนือจากบุคคลธรรมดาเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ใน รัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐ ให้ถือว่าบุคคลนั้นเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่เฉพาะในรัฐที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งเท่านั้น

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)