ข้อ 4. ผู้มีถิ่นที่อยู่
(ก) ให้ถือว่าบุคคลธรรมดานั้นเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐซึ่งตนมีที่อยู่ถาวร ถ้าบุคคลธรรมดานั้นมีที่อยู่ ถาวรในทั้งสองรัฐ ให้ถือว่าเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐซึ่งตนมีความสัมพันธ์ทางส่วนตัวและทาง เศรษฐกิจใกล้ชิดกว่า (ศูนย์กลางของผลประโยชน์อันสำคัญ) (ข) ถ้าไม่อาจกำหนดรัฐซึ่งบุคคลนั้นมีศูนย์กลางของผลประโยชน์อันสำคัญได้ หรือถ้าบุคคลธรรมดา นั้นไม่มีที่อยู่ถาวรในรัฐหนึ่งรัฐใด ให้ถือว่าบุคคลธรรมดานั้นเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐที่ตนมีที่อยู่เป็น ปกติวิสัย (ค) ถ้าบุคคลธรรมดาที่มีอยู่เป็นปกติวิสัยในทั้งสองรัฐหรือไม่มีอยู่ในรัฐหนึ่งรัฐใด ให้ถือว่าเป็นผู้มีถิ่น ที่อยู่ของรัฐที่ตนเป็นคนชาติ (ง) ถ้าบุคคลธรรมดาเป็นคนชาติของทั้งสองรัฐ หรือมิได้เป็นคนชาติของรัฐหนึ่งรัฐใด ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐแก้ไขปัญหาโดยความตกลงร่วมกัน
(ก) ให้ถือว่าบริษัทนั้นเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐซึ่งตนเป็นคนชาติ (ข) ถ้ามิได้เป็นคนชาติของรัฐหนึ่งรัฐใด ให้ถือว่าเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐซึ่งตนมีสถานจัดการใหญ่ตั้งอยู่
|