ป. 81/2524 เรื่อง การคำนวณเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 และมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร


จำนวนภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีตามวรรคหนึ่ง หมายความถึง จำนวนภาษีที่ต้องเสียตามมาตรา 82/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากรข้อ 3 กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) ไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด อันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีขายหรือจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไปตามมาตรา 89(4) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ไม่ว่าจะได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในกำหนดเวลาหรือยื่นแบบแสดงรายการภาษีเมื่อพ้นกำหนดเวลา ให้คำนวณเบี้ยปรับดังนี้

คำสั่งกรมสรรพากร

ป. 81/2542

เรื่อง การคำนวณเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 และมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร


เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการคำนวณเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 และมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากรในบางกรณี กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิก

(1) คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.30/2535 เรื่อง การคำนวณเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 และมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2535

(2) คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.38/2536 เรื่อง การคำนวณเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89(10) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2536

ข้อ 2 กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) หรือยื่นแบบแสดงรายการภาษีเมื่อพ้นกำหนดเวลา ให้คำนวณเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีตามมาตรา 89(2) แห่งประมวลรัษฎากร

จำนวนภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีตามวรรคหนึ่ง หมายความถึง จำนวนภาษีที่ต้องเสียตามมาตรา 82/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อ 3 กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) ไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด อันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีขายหรือจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไปตามมาตรา 89(4) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ไม่ว่าจะได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในกำหนดเวลาหรือยื่นแบบแสดงรายการภาษีเมื่อพ้นกำหนดเวลา ให้คำนวณเบี้ยปรับดังนี้

(1) กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้ขาดไป และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้ถูกต้อง ให้คำนวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไป

(2) กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้ขาดไป และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้ขาดไป ให้คำนวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไป

(3) กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้ขาดไป และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้เกินไป ให้คำนวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไป และคำนวณเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไป

(4) กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้เกินไป และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้ถูกต้อง ไม่ต้องคำนวณเบี้ยปรับแต่อย่างใด

(5) กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้เกินไป และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้ขาดไป ไม่ต้องคำนวณเบี้ยปรับแต่อย่างใด

(6) กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้เกินไป และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้เกินไป ให้คำนวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไป

(7) กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้ถูกต้อง และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้ขาดไป ไม่ต้องคำนวณเบี้ยปรับแต่อย่างใด

(8) กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้ถูกต้อง และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้เกินไป ให้คำนวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไป

ข้อ 4 กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) ภายในกำหนดเวลาไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีคลาดเคลื่อนไป ให้คำนวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีที่เสียคลาดเคลื่อนตามมาตรา 89(3) แห่งประมวลรัษฎากร

จำนวนภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีตามวรรคหนึ่ง หมายความถึง จำนวนภาษีที่ต้องเสียตามมาตรา 82/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร

จำนวนภาษีที่เสียคลาดเคลื่อนตามวรรคหนึ่ง หมายความถึงผลต่างระหว่างจำนวนภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อตามแบบแสดงรายการภาษีกับจำนวนภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อที่พึงต้องเสียในเดือนภาษีนั้น

จำนวนภาษีที่เสียคลาดเคลื่อนตามวรรคสาม ได้แก่

(1) กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) แสดงจำนวนภาษีที่ต้องชำระไว้น้อยกว่าจำนวนภาษีที่พึงต้องชำระในเดือนภาษีนั้น ให้คำนวณเบี้ยปรับตามวรรคหนึ่ง

(2) กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) แสดงจำนวนภาษีที่ขอคืนไว้มากกว่าจำนวนภาษีที่พึงได้คืนในเดือนภาษีนั้น ไม่ต้องคำนวณเบี้ยปรับตามวรรคหนึ่ง

(3) กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) แสดงจำนวนภาษีที่ขอคืน แต่ในเดือนภาษีนั้นนอกจากไม่มีจำนวนภาษีที่พึงได้คืนแล้ว ยังมีจำนวนภาษีที่พึงต้องชำระอีกด้วย ให้คำนวณเบี้ยปรับตามวรรคหนึ่งเฉพาะจำนวนภาษีที่พึงต้องชำระ

ข้อ 5 กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) ภายในกำหนดเวลาไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด อันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีขายหรือจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไปตามข้อ 3 และยังเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีตามข้อ 4 คลาดเคลื่อนไปด้วย ให้คำนวณเบี้ยปรับตามข้อ 3 และยังต้องคำนวณเบี้ยปรับตามข้อ 4 ด้วย แต่ให้เรียกเก็บเบี้ยปรับเพียงกรณีเดียวซึ่งเป็นกรณีที่จะทำให้เรียกเก็บเบี้ยปรับได้เงินเป็นจำนวนมากกว่า

ข้อ 6 กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) ภายในกำหนดเวลาไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด และต่อมาได้มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมสำหรับเดือนภาษีนั้นตามมาตรา 83/4 แห่งประมวลรัษฎากร ให้คำนวณเบี้ยปรับตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5

การยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) เพิ่มเติมภายในกำหนดเวลาไม่ต้องคำนวณเบี้ยปรับตามวรรคหนึ่ง

ข้อ 7 กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) เมื่อพ้นกำหนดเวลา โดยได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด และต่อมาได้มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมสำหรับเดือนภาษีนั้นตามมาตรา 83/4 แห่งประมวลรัษฎากร ให้คำนวณเบี้ยปรับตามข้อ 2 ของจำนวนภาษีที่ต้องเสียเพิ่มเติมนั้น

ถ้าการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่งได้ปรับปรุงจำนวนภาษีขายและหรือจำนวนภาษีซื้อที่ได้แสดงไว้คลาดเคลื่อนไปตามข้อ 3 ให้คำนวณเบี้ยปรับตามข้อ 3 ด้วย แต่ให้เรียกเก็บเบี้ยปรับตามข้อ 3 หรือเบี้ยปรับตามวรรคหนึ่งเพียงกรณีเดียว ซึ่งเป็นกรณีที่จะทำให้เรียกเก็บเบี้ยปรับได้เงินเป็นจำนวนมากกว่า

ข้อ 8 ให้นำหลักเกณฑ์การคำนวณเบี้ยปรับตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 มาใช้บังคับโดยอนุโลมเพียงเท่าที่ไม่ขัดกัน สำหรับกรณีดังต่อไปนี้

(1) การยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.31) ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีซึ่งได้คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/16 แห่งประมวลรัษฎากร

(2) การยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.36) ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 82/1(2) โดยวิธีนำส่งภาษีตามมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร

(3) การยื่นใบขนสินค้าตามแบบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด (ใบขนสินค้าขาเข้า) ของผู้นำเข้าที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/8 แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อ 9 กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจพบว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้จัดทำใบกำกับภาษีและส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ให้คำนวณเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษีตามมาตรา 89(5) แห่งประมวลรัษฎากร

ไม่ให้นำหลักเกณฑ์การคำนวณเบี้ยปรับตามวรรคหนึ่งมาใช้บังคับในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีที่ไม่ได้จัดทำตามวรรคหนึ่งไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีแล้ว โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ

คำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือตามวรรคสองหมายความถึง กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจพบความผิดและได้มีการบันทึกความผิดไว้ในแบบ ต.ป.05 หรือแบบ ต.6 แล้ว

ข้อ 10 กรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนกระทำผิดดังต่อไปนี้

(1) ไม่ได้จัดทำรายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) แห่งประมวลรัษฎากร

(2) ไม่ได้จัดทำรายงานมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 87 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร

(3) ไม่ได้จัดทำรายงานอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดตามมาตรา 87/1 แห่งประมวลรัษฎากร

(4) ลงรายการในรายงานภาษีขาย รายงานมูลค่าของฐานภาษี หรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ไม่ถูกต้องครบถ้วน

ทั้งนี้ ให้คำนวณเบี้ยปรับสองเท่าของเงินภาษีซึ่งคำนวณจากฐานภาษีที่ไม่ได้จัดทำรายงาน หรือไม่ได้ลงรายการในรายงานให้ถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 89(10) แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี

การลงรายการในรายงานภาษีขาย รายงานมูลค่าของฐานภาษี หรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไม่ถูกต้องครบถ้วนตามวรรคหนึ่ง ไม่ให้นำไปใช้กับกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้คำนวณมูลค่าของฐานภาษีเพิ่มขึ้นตามราคาตลาดของสินค้าหรือบริการ ตามมาตรา 79/3(1) แห่งประมวลรัษฎากร

ฐานภาษีที่ไม่ได้จัดทำรายงานตามวรรคหนึ่ง หมายความถึง ฐานภาษีตามส่วน 3 ในหมวด 4 แห่งประมวลรัษฎากร จากการที่ประกอบการจดทะเบียนได้ขายสินค้าหรือได้ให้บริการไปแล้ว และมีหน้าที่ต้องลงรายการในรายงานตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ไม่รวมถึงฐานภาษีของสินค้าที่ยังไม่ได้ขายซึ่งตรวจนับได้

ฐานภาษีที่ไม่ได้ลงรายการในรายงานให้ถูกต้องครบถ้วนตามวรรคหนึ่งหมายความถึง ฐานภาษีตามส่วน 3 ในหมวด 4 แห่งประมวลรัษฎากร จากการที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ขายสินค้าหรือได้ให้บริการไปแล้ว และมีหน้าที่ต้องลงรายการในรายงานตามมาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ลงรายการในรายงานไม่ถูกต้องครบถ้วน โดยไม่รวมถึงฐานภาษีของสินค้าที่ยังไม่ได้ขายซึ่งตรวจนับได้

ข้อ 11 กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้เก็บและรักษารายงานภาษีขาย รายงานมูลค่าของฐานภาษี หรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ไว้ ณ สถานประกอบการที่ทำงานตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร ให้ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้จัดทำรายงานตามข้อ 10(1)(2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี

กรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้เก็บและรักษารายงานภาษีขาย รายงานมูลค่าของฐานภาษี หรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ไว้ ณ สถานประกอบการตามวรรคหนึ่ง ถ้าเจ้าพนักงานประเมินพิจารณาเห็นว่ามีเหตุอันสมควรให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนำรายงานภาษีขาย รายงานมูลค่าของฐานภาษี หรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด มาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบภายในระยะเวลาที่กำหนด และผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถนำรายงานดังกล่าวมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบได้ ให้ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทำรายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) แห่งประมวลรัษฎากร หรือรายงานมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 87 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร หรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดตามมาตรา 87(1) แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี

กำหนดเวลาตามวรรคสองต้องไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจพบการกระทำความผิด ทั้งนี้ เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะสั่งเป็นอย่างอื่น

ข้อ 12 กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้จัดทำรายงานภาษีซื้อ ตามมาตรา 87(2) แห่งประมวลรัษฎากร หรือลงรายการในรายงานภาษีซื้อไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือลงรายการในรายงานภาษีซื้อไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามมาตรา 87 และมาตรา 87/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่ได้เก็บและรักษารายงานภาษีซื้อไว้ ณ สถานประกอบการทำรายงานตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ต้องคำนวณเบี้ยปรับตามมาตรา 89(10) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อ 13 ให้นำหลักเกณฑ์การคำนวณเบี้ยปรับตามข้อ 10 และข้อ 11 มาใช้บังคับในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้จัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ตามมาตรา 87(3) และมาตรา 87 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากรหรือลงรายการในรายงานสินค้าและวัตถุดิบไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือไม่ได้เก็บและรักษารายงานสินค้าและวัตถุดิบไว้ ณ สถานประกอบการที่ทำงานตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อ 14 ในการตรวจปฏิบัติการ หรือการตรวจสอบทั่วไปกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้จัดทำรายงานหรือไม่ได้ลงรายการในรายงานให้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อ 10 ข้อ 11 และข้อ 13 ถ้าเจ้าพนักงานประเมินไม่มีหลักฐานข้อหนึ่งข้อใดดังต่อไปนี้ เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจประเมินเบี้ยปรับตามมาตรา 89(10) แห่งประมวลรัษฎากร

(1) ปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินว่า ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด

(2) ในกรณีเจ้าพนักงานประเมินมีหลักฐานแสดงว่า ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นแบบแสดงรายการภาษีโดยแสดงจำนวนภาษีที่ต้องเสียต่ำกว่าความเป็นจริง

(3) ผู้ประกอบการจด*ะเบียนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินหรือไม่ยอมตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมินโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

(4) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่สามารถแสดงใบกำกับภาษีในกรณีภาษีซื้อหรือสำเนาใบกำกับภาษีในกรณีภาษีขาย พร้อมหลักฐานอื่นเพื่อการคำนวณภาษีหรือการเครดิตภาษี

(5) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่เก็บสำเนาใบกำกับภาษีในกรณีภาษีขายและหลักฐานต่าง ๆ ประกอบการลงรายงานตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือ

(6) ปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินว่าผู้ประกอบการซึ่งต้องยื่นคำขอจดทเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/1 มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีหลักฐานข้อหนึ่งข้อใดตามวรรคหนึ่ง ให้คำนวณเบี้ยปรับตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 10 ข้อ 11 และข้อ 13

ไม่ให้นำหลักเกณฑ์การคำนวณเบี้ยปรับตามวรรคสองมาใช้บังคับในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นำภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากฐานภาษีที่ไม่ได้จัดทำรายงาน หรือไม่ได้ลงรายการในรายงานให้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อ 10 ข้อ 11 และข้อ 13 ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีแล้ว โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่

คำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือตามวรรคสามหมายความถึง กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจพบความผิดและได้มีการบันทึกความผิดไว้ในแบบ ต.ป.05 หรือแบบ ต.6 แล้ว

ข้อ 15 กรณีมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) หรือมาตรา 87 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร หมายความถึง กรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) หรือมาตรา 87 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร แต่เมื่อมีการตรวจนับสินค้าไม่ว่าโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนเองหรือเจ้าพนักงานประเมินปรากฏว่ามีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ซึ่งถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา77/1(8)(จ) แห่งประมวลรัษฎากร ให้คำนวณเบี้ยปรับสองเท่าของเงินภาษีซึ่งคำนวณจากมูลค่าของฐานภาษีตามราคาตลาดของสินค้าในวันที่ตรวจพบตามมาตรา 79/3(3) และมาตรา 89(10) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อ 16 กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีความรับผิดต้องเสียเบี้ยปรับตามข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 13 หรือข้อ 15 ให้คำนวณเบี้ยปรับทุกกรณี แต่ให้เรียกเก็บเบี้ยปรับเพียงกรณีเดียวซึ่งเป็นกรณีที่จะทำให้เรียกเก็บเบี้ยปรับได้เงินเป็นจำนวนมากกว่า

ข้อ 17 ให้นำหลักเกณฑ์การคำนวณเบี้ยปรับตามข้อ 10 ข้อ 11 และข้อ 13 มาใช้บังคับสำหรับการทำรายงานแสดงรายรับก่อนหักรายจ่ายที่ต้องเสียภาษีและรายรับที่ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี ตามมาตรา 91/14 แห่งประมวลรัษฎากร โดยอนุโลมเพียงเท่าที่ไม่ขัดกัน

ข้อ 18 กรณีผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีดังต่อไปนี้ ไม่ได้ยื่นแบบนำส่งภาษี (ภ.พ.36) หรือยื่นแบบนำส่งภาษี (ภ.พ.36) เมื่อพ้นกำหนดเวลา หรือยื่นแบบนำส่งภาษี (ภ.พ.36) ไว้ไม่ถูกต้อง ไม่ต้องคำนวณเบี้ยปรับตามมาตรา 89 แห่งประมวลรัษฎากร

(1) ผู้ทอดตลาดซึ่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 83/5 แห่งประมวลรัษฎากร

(2) ผู้จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรซึ่งได้เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 85/3 แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 83/6(1) แห่งประมวลรัษฎากร

(3) ผู้จ่ายเงินค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ตามมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อ 19 กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 82/1 โดยวิธีนำส่งภาษีตามมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากรดังต่อไปนี้ ไม่ได้ยื่นแบบนำส่งภาษี (ภ.พ.36) หรือยื่นแบบนำส่งภาษี (ภ.พ.36) เมื่อพ้นกำหนดเวลา ให้คำนวณเบี้ยปรับสองเท่าของเงินภาษีที่ต้องนำส่งในเดือนภาษีตามมาตรา 89(2) แห่งประมวลรัษฎากร

(1) ผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการตามมาตรา 82/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งสินค้าหรือบริการดังกล่าวได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(5) แห่งประมวลรัษฎากร

(2) ผู้รับโอนสินค้าตามมาตรา 82/1(3)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งสินค้าดังกล่าวได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(2)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร

กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 82/1 โดยวิธีนำส่งภาษีตาม มาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากรตามวรรคหนึ่งยื่นแบบนำส่งภาษี (ภ.พ.36) ภายในกำหนดเวลาไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่นำส่งไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด ให้คำนวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของเงินภาษีที่นำส่งคลาดเคลื่อนตามมาตรา 89(3) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อ 20 กรณีที่ผู้มีหน้าทีเสียภาษี หรือผู้มีหน้าที่นำส่งภาษี กระทำผิดดังต่อไปนี้

(1) ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30 หรือ ภ.พ.31 หรือใบขนสินค้าขาเข้า) หรือแบบนำส่งภาษี (ภ.พ.36)

(2) ยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30 หรือ ภ.พ.31 หรือใบขนสินค้าขาเข้า) หรือแบบนำส่งภาษี (ภ.พ.36) เมื่อพ้นกำหนดเวลา

(3) ยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30 หรือ ภ.พ.31 หรือใบขนสินค้าขาเข้า) หรือแบบนำส่งภาษี (ภ.พ.36) ภายในกำหนดเวลาโดยยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบนำส่งภาษีไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด อันเป็นเหตุให้ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีในเดือนภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วน

(4) มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีเพิ่มเติมตามมาตรา 83/4 แห่งประมวลรัษฎากร อันเนื่องจากชำระภาษีในเดือนภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วน

ทั้งนี้ ให้คำนวณเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อ 21 เงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร ให้คำนวณจากเงินภาษีที่ต้องชำระในเดือนภาษีหลังจากนำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนภาษีจากการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มหรือเครดิตภาษีตามส่วน 8 ของหมวด 4 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร มาหักออก

เครดิตภาษีที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนภาษีตามวรรคหนึ่ง หมายความถึงภาษีซื้อที่คงเหลืออยู่จริงจากการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/3 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งสะสมมาจากเดือนภาษีก่อนและได้แสดงในแบบแสดงรายการในเดือนภาษีที่ผ่านมา

ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนนำเครดิตภาษีมาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามส่วน 8 ของหมวด 4 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร เกินกว่าจำนวนเครดิตภาษีที่เหลืออยู่จริงในแบบแสดงรายการภาษีของเดือนที่ผ่านมา อันเป็นเหตุให้การชำระภาษีตามแบบแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้คำนวณเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยไม่ต้องคำนวณเบี้ยปรับตามมาตรา 89(3) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อ 22 ให้นำหลักเกณฑ์การคำนวณเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามข้อ 2 ถึงข้อ 21มาใช้บังคับในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีเอง หรือผู้มีหน้าที่นำส่งภาษียื่นแบบนำส่งภาษีเอง หรือในกรณีเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีในทุกกรณี

ข้อ 23 กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีความรับผิดต้องเสียเบี้ยปรับตามข้อ 2 ถึงข้อ 21 และในกรณีอื่นตามมาตรา 89 แห่งประมวลรัษฎากร ให้คำนวณเบี้ยปรับทุกกรณี แต่การงดหรือลดเบี้ยปรับและการเรียกเก็บเบี้ยปรับให้เป็นไปตามระเบียบหรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 24 ระเบียบ คำสั่ง หนังสือตอบข้อหารือ หรือทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ ให้เป็นอันยกเลิก


สั่ง ณ วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2542

ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ

อธิบดีกรมสรรพากร


ตัวอย่าง

ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม

ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 81/2542


1. ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ได้แสดงการคำนวณภาษีขายหักด้วยภาษีที่ซื้อทั้งกรณีจากการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ. 30 และจากการคำนวณภาษีที่ถูกต้อง ซึ่งการคำนวณภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อจำนวนที่ถูกต้องอาจเกิดจากกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตรวจสอบความผิดเองและไปยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ. 30 เพิ่มเติม หรืออาจเกิดจากการตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมินซึ่งเจ้าพนักงานประเมินจะได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีต่อไป

2. การคำนวณเบี้ยปรับในกรณีการไม่ได้จัดทำใบกำกับภาษีและส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ หรือไม่ได้จัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือลงรายการในรายงานไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือกรณีมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เป็นการคำนวณเบี้ยปรับนอกเหนือจากการคำนวณภาษีตาม 1. ซึ่งได้อธิบายวิธีการคำนวณไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวแล้ว


1. กรณีไม่ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30

1.1 การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีภาษีต้องชำระ

ภาษีขาย (บาท)
1000
750
ภาษีที่ต้องชำระ
250
เงินเพิ่ม มาตรา 89/1
250 X 1.5% ต่อเดือน
เบี้ยปรับ มาตรา 89(2)
250 X 2 เท่า

1.2 การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีภาษีชำระเกิน

ภาษีขาย (บาท)
1000
1750
ภาษีที่ต้องชำระ
0
ภาษีที่ชำระไว้เกิน
(750)
เงินเพิ่ม มาตรา 89/1
ไม่มี
เบี้ยปรับ มาตรา 89(2)
ไม่มี

2. กรณียื่นแบบ ภ.พ. 30 เมื่อพ้นกำหนดเวลา ซึ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องรับผิดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตาม 1. ไปแล้ว ต่อมาได้มีการยื่นแบบ ภ.พ. 30 เพิ่มเติม หรือเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบความผิด

2.1 แบบ ภ.พ. 30 ฉบับปกติมีภาษีต้องชำระและการคำนวณที่ถูกต้องมีภาษีต้องชำระ

แบบ ภ.พ. 30
ความถูกต้อง
ผลต่าง
ภาษีขาย (บาท)
1,000
1,600
600
ขายขาด
ภาษีซื้อ
750
400
(350)
ซื้อเกิน
ภาษีที่ต้องชำระ
250
1,200
950
คลาดเคลื่อน
ภาษีชำระไว้เกินยกมา
(70)
(70)
0
ภาษีต้องชำระสุทธิ
180
1,130
950
เงินเพิ่มมาตรา 89/1950 X 1.5% ต่อเดือน
เบี้ยปรับ
มาตรา 89(2)950 X 2 เท่า
มาตรา 89(4) ภาษีขายขาด600 X 1 เท่า
มาตรา 89(4) ภาษีซื้อเกิน350 X 1 เท่า

ให้เปรียบเทียบเบี้ยปรับและเรียกเก็บจำนวนที่ได้เงินมากกว่า คือ มาตรา 89(2) จำนวน 1,900 บาท

2.2 แบบ ภ.พ. 30 ฉบับปกติมีภาษีชำระไว้เกิน และการคำนวณที่ถูกต้องมีภาษีชำระไว้เกิน

แบบ ภ.พ. 30
ความถูกต้อง
ผลต่าง
ภาษีขาย (บาท)
1,000
1,600
600
ขายขาด
ภาษีซื้อ
2,750
2,400
(350)
ซื้อเกิน
ภาษีที่ชำระไว้เกิน
(1,750)
(800)
950
คลาดเคลื่อน
ภาษีชำระไว้เกินยกมา
(70)
(70)
0
ภาษีต้องชำระสุทธิ
(1,820)
(870)
950
เงินเพิ่มมาตรา 89/1ไม่มี
เบี้ยปรับ
มาตรา 89(2)ไม่มี
มาตรา 89(4) ภาษีขายขาด600 X 1 เท่า
มาตรา 89(4) ภาษีซื้อเกิน350 X 1 เท่า

2.3 แบบ ภ.พ. 30 ฉบับปกติมีภาษีชำระไว้เกิน แต่การคำนวณที่ถูกต้องมีภาษีต้องชำระ

แบบ ภ.พ. 30
ความถูกต้อง
ผลต่าง
ภาษีขาย (บาท)
1,000
1,600
600
ขายขาด
ภาษีซื้อ
2,750
1,400
(1,350)
ซื้อเกิน
ภาษีที่ชำระไว้เกิน
(1,750)
200
1,950
คลาดเคลื่อน
ภาษีชำระไว้เกินยกมา
(70)
(70)
0
ภาษีต้องชำระสุทธิ
(1,820)
130
1,950
เงินเพิ่มมาตรา 89/1130 X 1.5% ต่อเดือน
เบี้ยปรับ
มาตรา 89(2)200 X 2 เท่า
มาตรา 89(4) ภาษีขายขาด600 X 1 เท่า
มาตรา 89(4) ภาษีซื้อเกิน1,350 X 1 เท่า

ให้เปรียบเทียบเบี้ยปรับและเรียกเก็บจำนวนที่ได้เงินมากกว่า คือ มาตรา 89(4) จำนวน 1,950 (600 1,350) บาท

2.4 แบบ ภ.พ. 30 ฉบับปกติมีภาษีต้องชำระแต่การคำนวณที่ถูกต้องชำระไว้เกิน

แบบ ภ.พ. 30
ความถูกต้อง
ผลต่าง
ภาษีขาย (บาท)
1,000
1,600
600
ขายขาด
ภาษีซื้อ
750
2,000
1,250
ซื้อขาด
ภาษีต้องชำระ
250
(400)
(650)
คลาดเคลื่อน
ภาษีชำระไว้เกินยกมา
(70)
(70)
0
ภาษีต้องชำระสุทธิ
180
(470)
(650)
เงินเพิ่มมาตรา 89/1ไม่มี
เบี้ยปรับ
มาตรา 89(2)ไม่มี
มาตรา 89(4) ภาษีขายขาด600 X 2 เท่า
มาตรา 89(4) ภาษีซื้อเกินไม่มี

ให้เปรียบเทียบเบี้ยปรับและเรียกเก็บจำนวนที่ได้เงินมากกว่า คือ มาตรา 89(4) จำนวน 600 บาท

3. กรณียื่นแบบ ภ.พ. 30 ภายในกำหนดเวลา แต่กรอกตัวเลขผิดพลาดและไม่ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้ถูกต้องครบถ้วนพร้อมการยื่นแบบ ภ.พ. 30

แบบ ภ.พ. 30
ความถูกต้อง
ผลต่าง
ภาษีขาย (บาท)
2,500
2,500
0
ขายขาด
ภาษีซื้อ
2,000
2,000
0
ซื้อขาด
ภาษีต้องชำระ
400
500
100
คลาดเคลื่อน
ภาษีชำระไว้เกินยกมา
(20)
(20)
0
ภาษีต้องชำระสุทธิ
380
480
100
เงินเพิ่มมาตรา 89/1480 X 1.5% ต่อเดือน
เบี้ยปรับ
มาตรา 89(2)ไม่มี
มาตรา 89(4) ภาษีซื้อเกินไม่มี

4. กรณียื่นแบบ ภ.พ. 30 ภายในกำหนดเวลาและชำระภาษีไปแล้ว ต่อมามีการยื่นแบบ ภ.พ. 30 เพิ่มเติมภายในกำหนดเวลาโดยชำระภาษีพร้อมการยื่นแบบเพิ่มเติม

แบบ ภ.พ. 30
ความถูกต้อง
ผลต่าง
ภาษีขาย (บาท)
1,500
2,400
900
ขายขาด
ภาษีซื้อ
1,000
600
(400)
ซื้อเกิน
ภาษีต้องชำระ
500
1,800
1,300
คลาดเคลื่อน
ภาษีชำระไว้เกินยกมา
(70)
(70)
0
ภาษีต้องชำระสุทธิ
430
1,730
1,300
เงินเพิ่มมาตรา 89/1ไม่มี
เบี้ยปรับ
มาตรา 89(3) ภาษีขายขาดไม่มี
มาตรา 89(4) ภาษีซื้อเกินไม่มี

5. กรณียื่นแบบ ภ.พ. 30 ภายในกำหนดเวลาและชำระภาษีไปแล้ว ต่อมามีการยื่นแบบ ภ.พ. 30 เพิ่มเติมภายในกำหนดเวลา โดยไม่ได้ชำระภาษีพร้อมการยื่นแบบเพิ่มเติม

แบบ ภ.พ. 30
ความถูกต้อง
ผลต่าง
ภาษีขาย (บาท)
1,500
2,400
900
ขายขาด
ภาษีซื้อ
1,000
600
(400)
ซื้อเกิน
ภาษีต้องชำระ
500
1,800
1,300
คลาดเคลื่อน
ภาษีชำระไว้เกินยกมา
(70)
(70)
0
ภาษีต้องชำระสุทธิ
430
1,730
1,300
เงินเพิ่มมาตรา 89/11,300 X 1.5% ต่อเดือน
เบี้ยปรับ
มาตรา 89(3) ภาษีขายขาด600 X 2 เท่า
มาตรา 89(4) ภาษีซื้อเกินไม่มี

6. กรณียื่นแบบ ภ.พ. 30 ภายในกำหนดเวลา และต่อมาทีการยื่นแบบ ภ.พ. 30 เพิ่มเติม เมื่อพ้นกำหนดเวลา หรือเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบความผิด

6.1 แบบ ภ.พ. 30 ฉบับปกติมีภาษีต้องชำระและการคำนวณที่ถูกต้องมีภาษีต้องชำระ

แบบ ภ.พ. 30
ความถูกต้อง
ผลต่าง
ภาษีขาย (บาท)
1,500
1,200
(300)
ขายเกิน
ภาษีซื้อ
1,000
600
(400)
ซื้อเกิน
ภาษีต้องชำระ
500
600
100
คลาดเคลื่อน
ภาษีชำระไว้เกินยกมา
(70)
(70)
0
ภาษีต้องชำระสุทธิ
430
530
100
เงินเพิ่มมาตรา 89/1100 X 1.5% ต่อเดือน
เบี้ยปรับ
มาตรา 89(3) 100 X 1 เท่า
มาตรา 89(4) ภาษีขายขาดไม่มี
มาตรา 89(4) ภาษีซื้อเกิน400 X 1 เท่า

ให้เปรียบเทียบเบี้ยปรับและเรียกเก็บจำนวนที่ได้เงินมากกว่า คือ มาตรา 89(4) จำนวน 400 บาท

6.2 แบบ ภ.พ. 30 ฉบับปกติมีภาษีชำระไว้เกิน และการคำนวณที่ถูกต้องมีภาษีชำระไว้เกิน

แบบ ภ.พ. 30
ความถูกต้อง
ผลต่าง
ภาษีขาย (บาท)
1,500
1,500
0
ขายถูกต้อง
ภาษีซื้อ
1,000
600
(400)
ซื้อเกิน
ภาษีต้องชำระ
500
900
400
คลาดเคลื่อน
ภาษีชำระไว้เกินยกมา
(950)
(950)
0
ภาษีต้องชำระสุทธิ
(450)
(50)
(400)
เงินเพิ่มมาตรา 89/1ไม่มี
เบี้ยปรับ
มาตรา 89(3) 100 X 1 เท่า
มาตรา 89(4) ภาษีขายขาดไม่มี
มาตรา 89(4) ภาษีซื้อเกิน400 X 1 เท่า

ให้เปรียบเทียบเบี้ยปรับและเรียกเก็บจำนวนที่ได้เงินมากกว่า คือ มาตรา 89(3) หรือมาตรา 89(4) จำนวน 400 บาท

6.3 แบบ ภ.พ. 30 ฉบับปกติมีภาษีชำระไว้เกิน แต่การคำนวณที่ถูกต้องมีภาษีต้องชำระ

แบบ ภ.พ. 30
ความถูกต้อง
ผลต่าง
ภาษีขาย (บาท)
1,500
3,500
2,000
ขายขาด
ภาษีซื้อ
1,000
800
(200)
ซื้อเกิน
ภาษีต้องชำระ
500
2,700
2,200
คลาดเคลื่อน
ภาษีชำระไว้เกินยกมา
(950)
(950)
0
ภาษีต้องชำระสุทธิ
(450)
(450)
1,750
2,200
เงินเพิ่มมาตรา 89/11,750 X 1.5% ต่อเดือน
เบี้ยปรับ
มาตรา 89(3) 2,000 X 1 เท่า
มาตรา 89(4) ภาษีขายขาด2,000 X 1 เท่า
มาตรา 89(4) ภาษีซื้อเกิน2,000 X 1 เท่า

ให้เปรียบเทียบเบี้ยปรับและเรียกเก็บจำนวนที่ได้เงินมากกว่า คือมาตรา 89(3) หรือมาตรา 89(4) จำนวน 2,200 บาท

6.4 แบบ ภ.พ. 30 ฉบับปกติมีภาษีต้องชำระแต่การคำนวณที่ถูกต้องชำระไว้เกิน

แบบ ภ.พ. 30
ความถูกต้อง
ผลต่าง
ภาษีขาย (บาท)
1,500
2,400
900
ขายขาด
ภาษีซื้อ
1,000
2,600
(1,600)
ซื้อขาด
ภาษีต้องชำระ
500
(200)
(700)
คลาดเคลื่อน
ภาษีชำระไว้เกินยกมา
(70)
(70)
0
ภาษีชำระไว้เกินสุทธิ
430
(270)
(700)
เงินเพิ่มมาตรา 89/1ไม่มี
เบี้ยปรับ
มาตรา 89(3) ไม่มี
มาตรา 89(4) ภาษีขายขาด900 X 1 เท่า
มาตรา 89(4) ภาษีซื้อเกินไม่มี

ให้เปรียบเทียบเบี้ยปรับและเรียกเก็บจำนวนที่ได้เงินมากกว่า คือ มาตรา 89(4) จำนวน 900 บาท


7. กรณียื่นแบบ ภ.พ. 30 โดยนำภาษีไว้เกินของเดือนที่ผ่านมา มาใช้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเกินกว่าจำนวนภาษีชำระไว้เกินที่มีอยู่จริง

7.1 กรณีแบบ ภ.พ. 30 ถูกต้อง

แบบ ภ.พ. 30
แบบ ภ.พ. 30
ความถูกต้อง
ผลต่าง
ม.ค. 42
ก.พ. 42
ก.พ. 42
ก.พ. 42
ภาษีขาย (บาท)
1,500
3,500
3,500
0
ภาษีซื้อ
1,000
1,200
1,200
0
ภาษีต้องชำระ
500
2,300
2,300
0
ภาษีชำระไว้เกินยกมา
(750)
*(350)
*(250)
(100)
ภาษีชำระไว้เกินสุทธิ
*(250)
1,950
2,050
100
เงินเพิ่มมาตรา 89/1100 X 1.5% ต่อเดือน
เบี้ยปรับ
มาตรา 89(3) ไม่มี
มาตรา 89(4) ไม่มี

7.2 กรณีแบบ ภ.พ. 30 แสดงภาษีขายขาด และภาษีซื้อเกินเป็นผลให้มีภาษีซื้อเกินเป็นผลให้ทีภาษีต้องชำระเพิ่มเติม

แบบ ภ.พ. 30
แบบ ภ.พ. 30
ความถูกต้อง
ผลต่าง
ม.ค. 42
ก.พ. 42
ก.พ. 42
ก.พ. 42
ภาษีขาย (บาท)
1,500
3,500
3,800
300
ภาษีซื้อ
1,000
1,200
1,000
(200)
ภาษีต้องชำระ
500
2,300
2,800
500
ภาษีชำระไว้เกินยกมา
(750)
*(350)
*(250)
(100)
ภาษีต้องชำระสุทธิ
*(250)
1,950
2,550
600
เงินเพิ่มมาตรา 89/1600 X 1.5% ต่อเดือน
เบี้ยปรับ
มาตรา 89(4) ภาษีขายขาด 300 X 1 เท่า
มาตรา 89(4) ภาษีซื้อเกิน200 X 1 เท่า

ให้เปรียบเทียบเบี้ยปรับและเรียกเก็บจำนวนที่ได้เงินมากกว่า คือ มาตรา 89(3) หรือ มาตรา 89(4) คือ จำนวน 500 บาท

7.3 กรณีแบบ ภ.พ. 30 แสดงภาษีขายขาด และภาษีซื้อเกิน แต่ยังคงมีภาษีชำระเกิน

แบบ ภ.พ. 30
แบบ ภ.พ. 30
ความถูกต้อง
ผลต่าง
ม.ค. 42
ก.พ. 42
ก.พ. 42
ก.พ. 42
ภาษีขาย (บาท)
1,500
3,500
3,550
50
ภาษีซื้อ
1,000
3,420
3,400
(20)
ภาษีต้องชำระ
500
80
150
70
ภาษีชำระไว้เกินยกมา
(750)
*(350)
*(250)
(100)
ภาษีชำระไว้เกินสุทธิ
*(250)
(270)
(100)
170
เงินเพิ่มมาตรา 89/1ไม่มี
เบี้ยปรับ
มาตรา 89(3) 70 X 1 เท่า
มาตรา 89(4) ภาษีขายขาด 50 X 1 เท่า
มาตรา 89(4) ภาษีซื้อเกิน20 X 1 เท่า

ให้เปรียบเทียบเบี้ยปรับและเรียกเก็บจำนวนที่ได้เงินมากกว่า คือ มาตรา 89(3) หรือ มาตรา 89(4) คือ จำนวน 70 บาท



Article Number: 6517
Author: Thu, Jul 28, 2022
Last Updated: Thu, Jul 28, 2022

Online URL: https://www.paseetax.com/article/ป-81-2524-เรื่อง-การคำนวณเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา-89-และมาตรา-89-1-แห่งประมวลรัษฎากร-6517.html