กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) มาตรการยกเว้นเงินได้และลดหย่อนภาษี (Update)


กฎกระทรวง

ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)

ออกตามความในประมวลรัษฎากร

ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 134 (4) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2494 และมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิก

(1) กฎกระทรวง ฉบับที่ 110 (พ.ศ. 2500) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

(2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 124 (พ.ศ. 2506) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

(3) กฎกระทรวง ฉบับที่ 125 (พ.ศ. 2507) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

ข้อ 2 ให้กำหนดเงินได้ต่อไปนี้เป็นเงินได้ตาม (17) ของมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496

“(1) เงินได้จากกิจการโรงเรียนเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แต่ไม่รวมถึงเงินได้จากกิจการโรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทกวดวิชาที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันถัดจากวันที่กฎกระทรวงนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 307 (พ.ศ. 2558) ใช้บังคับ 11 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นไป)

(2) เงินได้จากการจำหน่าย หรือส่วนลดจากการจำหน่ายสลากกินแบ่งของรัฐบาล

(3) เงินได้ส่วนที่เป็นค่าจ้างการทำงานในระหว่างเวลาปิดภาคการศึกษาของคนต่างด้าวซึ่งเป็นนักเรียน นักศึกษาหรือนิสิตที่เข้ามาศึกษา ณ สถานศึกษาในประเทศไทย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน

(4) เงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้ หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาล สำหรับ

(ก) ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับการรักษาพยาบาลที่กระทำในประเทศไทย

(ข) ลูกจ้างในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว

ทั้งนี้ เงินจำนวนดังกล่าวได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 149 (พ.ศ. 2523) ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปี 2523 เป็นต้นไป)

(5) (ยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 187 (พ.ศ. 2534) ความเดิมยังคงใช้บังคับสำหรับการโอนกรรมสิทธิในพันธบัตรของรัฐบาลที่ออกจำหน่ายก่อนวันที่ 8 พฤศจิกายน 2534)

(6) เงินได้ที่ทางราชการจ่ายให้เป็นเงินค่าเช่าบ้านหรือเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินช่วยการศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือบุตรเงินค่าเบี้ยกันดาร เงินยังชีพ หรือเงินค่าอาหารทำการนอกเวลา

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 136 (พ.ศ. 2517) ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปี 2517 เป็นต้นไป)

(7) (ยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 187 (พ.ศ. 2534) ความเดิมยังคงใช้บังคับสำหรับดอกเบี้ยพันธบัตรของรัฐบาลและพันธบัตรของรัฐบาลที่เริ่มจำหน่ายก่อนวันที่ 8 พฤศจิกายน 2534)

(8) เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เท่าที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความเป็นจริง หรือเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่รัฐวิสาหกิจดังกล่าวให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า และรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวให้

(9) เงินช่วยการศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือบุตร เงินค่าเบี้ยกันดารหรือเงินยังชีพ ที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในอัตราเดียวกับที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวให้

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 138 (พ.ศ. 2518) ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปี 2517เป็นต้นไป)

(10) รางวัลที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการป้องกันมิให้มีการกระทำผิดเกี่ยวกับภาษีอากร

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 139 (พ.ศ. 2518) ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปี 2518เป็นต้นไป)

(11) ดอกเบี้ยเงินสะสมที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ในอัตราเดียวกับที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวให้

(12) เงินได้ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลต่างประเทศซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยได้รับจากรัฐบาลของตน ทั้งนี้ โดยให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 146 (พ.ศ. 2522) ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปี 2522 เป็นต้นไป)

(13) เงินได้ส่วนที่เป็นเงินเดือนและเงินใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ที่คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้แทนของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย ได้รับจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 145 (พ.ศ. 2522) ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปี 2522 เป็น

(14) ยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 169 (พ.ศ. 2529) ใช้บังคับ 2 กุมภาพันธ์ 2529 เป็นต้นไป

(15) เงินได้ที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และกระทรวงการคลังได้อนุญาตให้เบิกจ่ายได้

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 152 (พ.ศ. 2523) ใช้บังคับสำหรับเงินได้ไม่ว่าที่ได้รับก่อนหรือตั้งแต่ 6 ตุลาคม 2523 เป็นต้นไป)

(16) เงินได้ส่วนที่เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างและเงินใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ที่คนต่างด้าวซึ่งไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้รับจาก

(ก) คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐานในการปฏิบัติงานในประเทศไทย

(ข) รัฐบาลแห่งประเทศของตนในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้อพยพจากอินโดจีนในประเทศไทย

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 154 (พ.ศ. 2524) ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปี 2524 เป็นต้นไป)

(17) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา ที่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล สุขาภิบาล หรือเมืองพัทยา หรือการปกครองท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ ทั้งนี้ เฉพาะเงินได้จากการขายในส่วนที่ไม่เกิน 200,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น

(18) ยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 312 (พ.ศ. 2559) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

"(19) เงินได้จากการขายสินค้ายาสูบที่การยาสูบแห่งประเทศไทยได้เสียภาษีเงินได้แทนผู้ขายสินค้าดังกล่าวทุกทอดตามมาตรา 48 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562"

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 349 (พ.ศ.2562) ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป)

(20) ยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 187 (พ.ศ. 2534) ความเดิมยังคงใช้สำหรับการโอนกรรมสิทธิ์ในใบรับฝากเงินประเภทประจำของธนาคารโดยมีดอกเบี้ยที่ได้มีการออกใบรับฝากก่อนวันที่ 8 พฤศจิกายน 2534

“(21) เงินได้ดังต่อไปนี้

(ก) ดอกเบี้ยพันธบัตรหรือดอกเบี้ยหุ้นกู้

(ข) ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน

(ค) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนพันธบัตรหรือหุ้นกู้

ทั้งนี้ เฉพาะพันธบัตรหรือหุ้นกู้ของรัฐบาล องค์การของรัฐบาล หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม และผู้มีเงินได้นั้นมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 249 (พ.ศ. 2548) ใช้บังคับ 25 มกราคม 2548 เป็นต้นไป)

“ผู้มีเงินได้ต้องถือกรรมสิทธิ์หรือได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรหรือหุ้นกู้ก่อนวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553 โดยพันธบัตรหรือหุ้นกู้ดังกล่าวต้องออกจำหน่ายก่อนวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ทั้งนี้ ในกรณีที่การโอนกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรหรือหุ้นกู้มิได้มีการแจ้งต่อนายทะเบียนต้องมีหลักฐานการโอนกรรมสิทธิ์เป็นหนังสือซึ่งระบุวันที่โอนกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรหรือหุ้นกู้นั้นไว้โดยชัดแจ้ง”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 286 (พ.ศ. 2554) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป)

(22) ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 187 (พ.ศ. 2534) ความเดิมยังคงใช้บังคับที่ได้มีการออกบัตรก่อน 8 พฤศจิกายน 2534)

(23) เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายหลักทรัพย์ที่เป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตร

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 187 (พ.ศ. 2534) ความเดิมยังคงใช้บังคับดอกเบี้ยพันธบัตรของรัฐบาลและพันธบัตรของรัฐบาลที่เริ่มจำหน่ายก่อน 8 พฤศจิกายน 2534)

(24) เงินได้จากการขายโลหะดีบุกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531 สำหรับโลหะดีบุกที่ซื้อมาระหว่างวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2530

ทั้งนี้ เฉพาะที่ไม่นำรายจ่ายในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการซื้อและขายโลหะดีบุกดังกล่าวไปรวมคำนวณเป็นรายจ่ายในการคำนวณเงินได้สุทธิ

ในกรณีที่รายจ่ายบางรายการไม่สามารถแยกเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับกิจการซื้อและขายโลหะดีบุกหรือเกี่ยวกับกิจการอื่นได้โดยชัดแจ้ง ให้เฉลี่ยรายจ่ายตามส่วนของเงินได้ของแต่ละกิจการนั้น

(25) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร แล้วแต่กรณีจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่เป็นการคำนวณจากเงินได้จากการขายโลหะดีบุกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531 สำหรับโลหะดีบุกที่ซื้อมาระหว่างวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2530 และรายจ่ายในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการซื้อและขายโลหะดีบุกดังกล่าว

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 171 (พ.ศ. 2529) ใช้บังคับ 18 กันยายน 2529 เป็นต้นไป)

(26) เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่มูลนิธิชัยพัฒนา

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 177 (พ.ศ. 2531) ใช้บังคับ 9 ธันวาคม 2531 เป็นต้นไป)

(28) เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

(29) เงินค่าทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้เฉพาะที่ดินที่ต้องเวนคืน และอสังหาริมทรัพย์อื่นบนที่ดินที่ต้องเวนคืน

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 184 (พ.ศ. 2533) ใช้บังคับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับใน พ.ศ. 2532 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2533 เป็นต้นไป)

(30) เงินได้พึงประเมินดังต่อไปนี้

(ก) ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาซื้อตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและมีการจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน แต่ไม่รวมถึงกรีที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นผู้ทรงคนแรก

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 196 (พ.ศ. 2538) ใช้บังคับ 11 กรกฎาคม 2538 เป็นต้นไป)

(ข) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ย

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 223 (พ.ศ. 2542) ใช้บังคับ 30 กรกฎาคม 2542 เป็นต้นไป)

“(ค) ดอกเบี้ยที่ได้จากตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก เฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นก่อนการเป็นผู้ทรงตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของผู้มีเงินได้ ทั้งนี้ ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร จากดอกเบี้ยดังกล่าวทั้งจำนวนไว้แล้ว “

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 231 (พ.ศ. 2544) ใช้บังคับ 14 กันยายน 2544 เป็นต้นไป)

ในกรณีที่เงินได้พึงประเมินตามวรรคหนึ่งเกิดจากตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่มีการจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน จะต้องเป็นกรณีที่ได้มีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากเงินได้ของบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ทรงคนแรกไว้แล้วตาม มาตรา 50 (2)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร และผู้จ่ายเงินได้ได้ประทับตราว่าได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายบนตราสารแล้วเท่านั้น

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 196 (พ.ศ. 2538) ใช้บังคับ 11 กรกฎาคม 2538 เป็นต้นไป)

(34) เงินได้ที่คำนวณได้จากมูลค่าของเครื่องแบบซึ่งลูกจ้างได้รับจากนายจ้างในจำนวนคนละไม่เกินสองชุดต่อไป และเสื้อนอกในจำนวนคนละไม่เกินหนึ่งตัวต่อปี

“เครื่องแบบ” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า เครื่องแต่งกาย รวมทั้งสิ่งประกอบเครื่องแต่งกายที่กำหนดให้แต่งเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน แต่ไม่รวมถึงรองเท้าที่อาจใช้งานได้ทั่วไป ชุดชั้นใน หรือสิ่งประกอบเครื่องแต่งกายที่ทำด้วยโลหะหรืออัญมณีที่มีค่าเช่น เงิน ทองคำ ทับทิม หยก

“เสื้อนอก” ตามวรรคหนึ่ง หมายความรวมถึง ชุดไทยพระราชทานและเสื้อที่นิยมใช้ในการแต่งกายไปในงานสำคัญต่างๆ

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 194 (พ.ศ. 2537) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ 1 มกราคม 2537 เป็นต้นไป)

“ (35) เงินได้เท่าที่ลูกจ้างจ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอัตราไม่เกินร้อยละสิบห้าของค่าจ้างเฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่ไม่เกินสี่แสนเก้าหมื่นบาท สำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป”

“(36) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดังต่อไปนี้

(ก) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับ เนื่องจากลูกจ้างออกจากงานเพราะตาย ทุพพลภาพหรือออกจากงานเมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่าห้าสิบห้าปีบริบูรณ์

(ข) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่มีสิทธิได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเนื่องจากลูกจ้างออกจากงานก่อนอายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ แต่เมื่อออกจากงานแล้วได้คงเงินหรือผลประโยชน์นั้นไว้ ทั้งจำนวนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และต่อมาได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นตาย ทุพพลภาพหรืออายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์

ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 292 (พ.ศ. 2555) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป)

“(36) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดังต่อไปนี้

(ก) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับ เนื่องจากลูกจ้างออกจากงานเพราะตาย ทุพพลภาพหรือออกจากงานเมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่าห้าสิบห้าปีบริบูรณ์

(ข) ผลตอบแทนเงินฝากที่ได้รับจากการฝากเงินตามหลักการของศาสนาอิสลามที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามตามหลักการวะดีอะฮ์ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2546 และต้องยื่นรายการในปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนจากการฝากเงินดังกล่าวเป็นจำนวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกินสองหมื่นบาทตลอดปีภาษี และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 339 (พ.ศ.2561) สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2546 และต้องยื่นรายการในปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด)

“(37) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้จากกิจการโรงเรียนเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แต่ไม่รวมถึงกิจการโรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทกวดวิชาที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันถัดจากวันที่กฎกระทรวงนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 307 (พ.ศ. 2558) ใช้บังคับ 11 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นไป)

(38) ดอกเบี้ยและผลตอบแทนจากการฝากเงินกับธนาคารในประเทศ ดังต่อไปนี้

(ก) ดอกเบี้ยเงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์

(ข) ผลตอบแทนเงินฝากที่ได้รับจากการฝากเงินตามหลักการของศาสนาอิสลามที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามตามหลักการวะดีอะฮ์ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2546 และต้องยื่นรายการในปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนจากการฝากเงินดังกล่าวเป็นจำนวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกินสองหมื่นบาทตลอดปีภาษี และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 339 (พ.ศ.2561) สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2546 และต้องยื่นรายการในปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด)

(39) เงินได้ส่วนที่เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างที่คนประจำเรือได้รับเนื่องจากการปฏิบัติงานบนเรือไทยตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพาณิชยนาวีที่ใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 204 (พ.ศ. 2539) ใช้บังคับ 26 กันยายน 2539 เป็นต้นไป)

(40) เงินได้ที่คณะกรรมการบริหาร “ทุนการกุศลสมเด็จพระเทพฯ” ได้รับเพื่อประโยชน์ของทุนการกุศลสมเด็จพระเทพฯ

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 205 (พ.ศ. 2540) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ 2 เมษายน 2540 เป็นต้นไป)

(41) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้

(ก) บ้าน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย

(ข) อสังหาริมทรัพย์ตาม (ก) พร้อมที่ดินี้

(ค) ห้องชุดสำหรับการอยู่อาศัยในอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด

ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้อสังหาริมทรัพย์ตาม (ก) (ข) หรือ (ค) โดยจดทะเบียนการได้มาใน พ.ศ. 2540 และขายอสังหาริมทรัพย์นั้นภายหลังจากการจดทะเบียนไม่น้อยกว่าหนึ่งปี แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 206 (พ.ศ. 2540) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2540 เป็นต้นไป)

(42) ผลประโยชน์ที่ได้จากการควบเข้ากันของธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และหรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิต ฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 207 (พ.ศ. 2540) ใช้บังคับ 23 กันยายน 2540 เป็นต้นไป)

“(43) เงินได้เท่าที่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินห้าแสนบาท สำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ. 2551) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป)

“(44) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมาย ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ดังต่อไปนี้

(ก) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับ เนื่องจากสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการออกจากราชการเพราะตาย เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน หรือเหตุสูงอายุ

(ข) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่มีสิทธิได้รับจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เนื่องจากสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการออกจากราชการในกรณีอื่นนอกจาก (ก) แต่เมื่อออกจากราชการแล้วได้คงเงินหรือผลประโยชน์นั้นไว้ทั้งจำนวนในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และต่อมาได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากสมาชิกผู้นั้นตาย ทุพพลภาพ หรืออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 277 (พ.ศ. 2553) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป)

(45) เงินได้ที่คณะกรรมการกองทุนลานกีฬาต้านยาเสพติด สำนักนายกรัฐมนตรีได้รับเพื่อประโยชน์ของกองทุนลานกีฬาต้านยาเสพติดดังกล่าว

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 209 (พ.ศ. 2541) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ 4 มีนาคม 2540 เป็นต้นไป)

(46) ดอกเบี้ยพันธบัตรออมสิน รุ่นพันธบัตรเงินฝากช่วยชาติ

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 210 (พ.ศ. 2541) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ 4 มีนาคม 2540 เป็นต้นไป)

(47) เงินได้ที่เป็นเงินเดือนหรือค่าตอบแทนที่เจ้าหน้าที่ของศูนย์วิจัยวนเกษตรนานาชาติ ซึ่งเป็นคนต่างด้าวและไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้รับจากศูนย์วิจัยวนเกษตรนานาชาติ เนื่องจากการเข้ามาทำงานในประเทศไทย ภายใต้ข้อตกลงระห่างรัฐบาลไทยและศูนย์วิจัยวนเกษตรนานาชาติ

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 211 (พ.ศ. 2541) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ 21 ตุลาคม 2539 เป็นต้นไป)

(48) รางวัลบัตรออกทรัพย์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 213 (พ.ศ. 2541) ใช้บังคับสำหรับรางวัลบัตรออมทรัพย์ที่ออกรางวัลตั้งแต่ 10 มีนาคม 2541 เป็นต้นไป)

(49) เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินโดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่วัด วัดบาดหลวงโรมันคาธอลิค หรือมัสยิด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ทั้งนี้ เฉพาะการโอนที่ดินส่วนที่ทำให้วัด วัดบาดหลวงโรมันคาธอลิค หรือมัสยิดมีที่ดินไม่เกินห้าสิบไร

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 214 (พ.ศ. 2541) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ 22 ตุลาคม 2541 เป็นต้นไป)

“(50) ผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากการที่ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นบริษัทควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน โดยโอนหุ้นเพื่อแลกกับหุ้นในบริษัทใหม่อันได้ควบเข้ากันหรือบริษัทผู้รับโอนกิจการทั้งหมด ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน และการโอนหุ้นที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันกับการควบเข้ากันหรือการโอนกิจการทั้งหมด”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 291 (พ.ศ. 2555) ใช้บังคับตั้งแต่ 14 กันยายน 2555 เป็นต้นไป)

(51) ค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและค่าชดเชยที่พนักงานได้รับตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ แต่ไม่รวมถึงค่าชดเชยที่ลูกจ้างหรือพนักงานได้รับเพราะเหตุเกษียณอายุหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง ทั้งนี้เฉพาะค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายแต่ไม่เกินสามแสนบาท

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 217 (พ.ศ. 2542) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นไป)

(52) เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งแสนบาท ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้ เฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ซึ่งจ่ายให้แก่

(ก) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

(ข) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

(ค) นิติบุคคลเฉพาะกิจซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์ เป็นหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่นิติบุคคลเฉพาะกิจดังกล่าวเข้ารับช่วงสิทธิเป็นเจ้าหนี้เงินกู้แทนกองทุนรวมตาม (ก) หรือ (ข) ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ หรือนายจ้าง

กรณีที่ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร หรือได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ตาม (53) หรือ (59) รวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งเมื่อรวมกับค่าลดหย่อนตามมาตรา 47 (1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร หรือเงินได้ตาม (53) หรือ (59) แล้วแต่กรณี ต้องไม่เกินหนึ่งแสนบาท

อาคารตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงอาคารพร้อมที่ดินด้วย

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 264 (พ.ศ. 2550) ตั้งแต่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป)

“(54) เงินได้เท่าที่ผู้อำนวยการ ผู้บริหาร ครู หรือบุคลากรทางการศึกษา ในโรงเรียนเอกชน จ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เฉพาะส่วนที่ไม่เกินห้าแสนบาท สำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ. 2551) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป)

“(55) เงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในอัตราไม่เกินร้อยละสามสิบของเงินได้พึงประเมิน เฉพาะส่วนที่ไม่เกินห้าแสนบาท สำหรับปีภาษีนั้น โดยผู้มีเงินได้ต้องถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรกและไถ่ถอนหน่วยลงทุนนั้น เมื่อผู้มีเงินได้มีอายุไม่ต่ำกว่าห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 357 (พ.ศ.2563) ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป)

บทบัญญัติใน (55) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปสำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ซื้อก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563

ในกรณีที่ผู้มีเงินได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนด้วย เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งเมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ ต้องไม่เกินห้าแสนบาท

ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ถือหน่วยลงทุนไม่ครบห้าปีนับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรกหรือไถ่ถอนหน่วยลงทุนก่อนที่ผู้มีเงินได้มีอายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ ให้ผู้มีเงินได้นั้นหมดสิทธิได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีตามวรรคหนึ่งมาแล้วด้วย

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ. 2551) ใช้บังคับ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป)

“ในปีภาษี 2551 หากผู้มีเงินได้มีการซื้อหน่วยลงทุนระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ให้เงินได้ตามวรรคหนึ่งเท่ากับส่วนที่ไม่เกินเจ็ดแสนบาท แต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินได้พึงประเมิน และในกรณีที่ผู้มีเงินได้ดังกล่าวได้จ่ายเงินสะสมตามวรรคสองด้วย เมื่อรวมเงินได้กับเงินสะสมแล้วต้องไม่เกินเจ็ดแสนบาท ทั้งนี้ เงินได้ที่ได้รับยกเว้นดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด และให้นำความในวรรคสามมาใช้บังคับด้วย”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 267 (พ.ศ. 2551) ใช้บังคับ 21พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป)

(56) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้รับจากกองทุนรวมดังกล่าวเพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 228 (พ.ศ. 2544) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป)

“(57) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ผู้อำนวยการ ผู้บริหาร ครู หรือบุคลากรทางการศึกษา ในโรงเรียนเอกชนได้รับจากกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เมื่อผู้อำนวยการ ผู้บริหาร ครู หรือบุคลากรทางการศึกษา ในโรงเรียนเอกชนออกจากงานเพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 307 (พ.ศ. 2558) ใช้บังคับ 11 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นไป)

“(58) เงินได้พึงประเมิน ดังต่อไปนี้

(ก) เงินปันผลที่ได้จากการถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการธุรกิจเงินร่วมลงทุน และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 5 อัฏฐารส แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 396) พ.ศ. 2545

(ข) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการธุรกิจเงินร่วมลงทุน และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 5 อัฏฐารส แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 396) พ.ศ. 2545”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 235 (พ.ศ. 2545) ใช้บังคับ 1 มีนาคม 2545 เป็นต้นไป)

“(59) เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งแสนบาท และเฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด

กรณีที่ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร หรือได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ตาม (52) หรือ (53) รวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งเมื่อรวมกับ ค่าลดหย่อนตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร หรือเงินได้ตาม (52) หรือ (53) แล้วแต่กรณี ต้อง ไม่เกินหนึ่งแสนบาท

อาคารตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงอาคารพร้อมที่ดินด้วย

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 264 (พ.ศ. 2550) ตั้งแต่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป)

(60) ดอกเบี้ยและรางวัลสลากออมทรัพย์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร แต่ไม่รวมถึงดอกเบี้ยซึ่งผู้รับมิใช่ผู้ทรงคนแรก ทั้งนี้ สำหรับสลากออมทรัพย์ที่ออกจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2545 เป็นต้นไป

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 239 (พ.ศ. 2545) ใช้บังคับ 28 กันยายน 2545 เป็นต้นไป)

“(61) เงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยในปีภาษี สำหรับการประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งหมื่นบาทแต่ไม่เกินเก้าหมื่นบาท โดยกรมธรรม์ประกันชีวิตต้องมีกำหนดเวลาตั้งแต่สิบปีขึ้นไป และการประกันชีวิตนั้นได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร ทั้งนี้ สำหรับเบี้ยประกันภัย ที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกำหนด”

“หากเบี้ยประกันภัยที่จ่ายตามวรรคหนึ่ง เป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ให้เงินได้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นอีก ในอัตราร้อยละสิบห้าของเงินได้พึงประเมินแต่ไม่เกินสองแสนบาท ทั้งนี้ เมื่อรวมคำนวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้สำหรับกรณีที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตาม (35) หรือเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตาม (43) หรือเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนตาม (54) แล้วแต่กรณีหรือเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตาม (55) แล้ว ต้องไม่เกินห้าแสนบาท ในปีภาษีเดียวกัน การได้รับยกเว้นตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 279 (พ.ศ. 2554) ใช้บังคับวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 เป็นต้นไป)

“(62) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้

(ก) บ้าน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย

(ข) อสังหาริมทรัพย์ตาม (ก) พร้อมที่ดิน

(ค) ห้องชุดสำหรับการอยู่อาศัยในอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด

ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับกรณีการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งผู้มีเงินได้ใช้เป็น ที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญ โดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด

การได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ต้องปรากฏว่าภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีก่อนหรือ นับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ผู้มีเงินได้ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่ซึ่งมีลักษณะตาม (ก) (ข) หรือ (ค) เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตน และให้ได้รับยกเว้นเท่ากับจำนวนมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว แต่ไม่เกินจำนวนมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่ ทั้งนี้ ให้ถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 241 (พ.ศ. 2546) ใช้บังคับกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดแล้วแต่กรณี สำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งกระทำตั้งแต่ 1 มกราคม 2546 เป็นต้นไป)

“(63) เงินได้จากการขายข้อตกลงซื้อขายล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า แห่งประเทศไทย เฉพาะกรณีที่ไม่มีการส่งมอบสินค้าเกษตร”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 244 ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่เปิดทำการซื้อขายข้อตกลงซื้อขายล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทยเป็นต้นไป)

“(64) บำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2546”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 245 ใช้บังคับ 10 มีนาคม 2547 เป็นต้นไป)

“(65) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด”(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 265 (พ.ศ. 2551))

“(66) เงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในอัตราไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินได้พึงประเมิน เฉพาะส่วนที่ไม่เกินห้าแสนบาท สำหรับปีภาษีนั้น โดยเงินได้ดังกล่าวต้องเป็นเงินได้ของผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลและกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง และผู้มีเงินได้ ต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวไม่น้อยกว่าเจ็ดปีปฏิทิน แต่ไม่รวมถึงกรณีทุพพลภาพหรือตาย ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562

การได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในวรรคสอง ให้ผู้มีเงินได้นั้นหมดสิทธิได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งมาแล้วด้วย”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 317 (พ.ศ.2559) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป)

(บทบัญญัติใน (66) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่ซื้อก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 317 (พ.ศ.2559) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป)

“(67) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่เงินหรือ ผลประโยชน์ดังกล่าวคำนวณมาจากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตาม (66) และผู้มีเงินได้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าเจ็ดปีปฏิทิน แต่ไม่รวมถึงกรณีทุพพลภาพหรือตาย”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 317 (พ.ศ.2559) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป)

(บทบัญญัติใน (67) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 246 (พ.ศ. 2547) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมหุ้นระยะยาว สำหรับหน่วยลงทุนที่ซื้อมาก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 )

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 317 (พ.ศ.2559) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป)

(68) เงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนตามมาตรา 47 (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร เท่าจำนวนเงินที่ได้บริจาคให้แก่การกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการกีฬา คณะกรรมการกีฬาจังหวัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมกีฬาในจังหวัด กรมพลศึกษาเพื่อการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน หรือสมาคมกีฬาจังหวัดหรือสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นโดยได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทยเพื่อการกีฬา แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคตามมาตรา 47 (7) แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนดังกล่าว

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 294 (พ.ศ. 2555) ใช้บังคับ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป)

(69) ดอกเบี้ยเงินฝากประจำหรือผลตอบแทนเงินฝากตามหลักการของศาสนาอิสลามตามหลักการมุฎอเราะบะฮ์ที่ได้รับจากการฝากเงินกับธนาคารในประเทศและมีลักษณะดังต่อไปนี้

(ก) ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป

(ข) เฉพาะกรณีการฝากเงินที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป

(ค) ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนจากการฝากเงินเมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่าห้าสิบห้าปีบริบูรณ์

ทั้งนี้ เมื่อรวมดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนจากการฝากเงินดังกล่าวกับดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทหรือผลตอบแทนเงินฝากที่ได้รับจากการฝากเงินตามหลักการของศาสนาอิสลามตามหลักการมุฎอเราะบะฮ์แล้วต้องไม่เกินสามหมื่นบาทตลอดปีภาษีนั้นและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 339 (พ.ศ.2561) สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

(70) เงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตามมาตรา 47(1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร เท่าจำนวนที่บริจาคให้แก่ส่วนราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคตามมาตรา 47(7) แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนดังกล่าวนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ. 2547 ที่ต้องยื่นรายการในปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 253 (พ.ศ. 2548) ลงวันที่ 28 มีนาคม 2548 ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ 2547 ที่ต้องยื่นรายการในปี พ.ศ 2548 เป็นต้นไป)

(71) เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่สภากาชาดไทย

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 256 (พ.ศ. 2548) ใช้บังคับ 22 สิงหาคม 2548 เป็นต้นไป)

(72) เงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่าหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาทในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 257 (พ.ศ. 2549) ใช้บังคับสำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป)

(73) เงินที่มีลักษณะเดียวกับบำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการและกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย และพนักงานธนาคารออมสินได้รับ โดยมีอัตราและวิธีการคำนวณเช่นเดียวกับบำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการและกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 258 (พ.ศ. 2549) ใช้บังคับ 10 มีนาคม 2547 เป็นต้นไป)

(74) เงินได้ที่คณะกรรมการโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทยได้รับเพื่อประโยชน์ของโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 259 (พ.ศ. 2549) ใช้บังคับ 5 กุมภาพันธ์ 2547 เป็นต้นไป)

(75) เงินได้จากการขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งกระทำในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เฉพาะกรณีที่ไม่มีการส่งมอบสินค้า ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 260 (พ.ศ. 2549) ใช้บังคับ 1 พฤศจิกายน 2548 เป็นต้นไป)

(76) เงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัท ประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักรตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นห้าพัน บาท สำหรับการประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มี เงินได้ซึ่ง มีรายได้ไม่เพียงพอ แก่การยังชีพ ทั้งนี้ ต้องเป็นเบี้ยประกันภัยที่ได้จ่ายในปี พ.ศ. 2549 เป็น ต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 263 (พ.ศ. 2549) ใช้บังคับสำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป)

(77) เงินได้เท่าที่นายจ้างจ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกินหนึ่งปี เฉพาะในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับ

(ก) ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะการรักษาพยาบาลในประเทศไทย

(ข) ลูกจ้าง ในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศ ในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว

ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 263 (พ.ศ. 2549) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป)

(78) เงินได้ของวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งมีเงินได้ไม่เกินหนึ่งล้านแปดแสนบาทสำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 330 (พ.ศ. 2560) มีผลใช้บังคับขยายไปถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562)

(79) เงินได้ที่มีลักษณะเดียวกับบำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการและกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเจ้าหน้าที่สภากาชาดไทยได้รับ โดยมีอัตราและวิธีการคำนวณเช่นเดียวกับบำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการและกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 268 (พ.ศ. 2552) ใช้บังคับ 6 มีนาคม 2552 เป็นต้นไป)

(80) เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่มูลนิธิสงเคราะห์เด็กของสภากาชาดไทย ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 275 (พ.ศ. 2553) ใช้บังคับ 17 กันยายน 2553 เป็นต้นไป)

(81) เงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับเฉพาะส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาท สำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 281 (พ.ศ. 2554) ใช้บังคับ 9 พฤษภาคม 2554 เป็นต้นไป)

(82) เงินได้ตามมาตรา 40 (5) (6) (7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ซึ่งได้ลงทะเบียนไว้กับศูนย์หรือหน่วยงานให้ความช่วยเหลือของทางราชการได้รับเฉพาะส่วนที่เท่ากับจำนวนค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่อธิบดีประกาศกำหนด

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 282 (พ.ศ. 2554) ใช้บังคับ 14 กันยายน 2554 เป็นต้นไป)

(83) เงินได้ที่คำนวณได้จากมูลค่าที่ลูกจ้างได้รับจากการนำบุตรชอบด้วยกฎหมายของตนแต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมไปอยู่ในความดูแลของสถานรับเลี้ยงเด็กตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กที่นายจ้างได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการของลูกจ้างสำหรับ สถานประกอบการนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 285 (พ.ศ. 2554) ใช้บังคับ 13 ธันวาคม 2554 เป็นต้นไป)

(84) เงินได้ที่นักแสดงสาธารณะที่เป็นนักแสดงภาพยนตร์ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศได้รับอันเนื่องมาจากการเสดงภาพยนตร์ต่างประเทศซึ่งดำเนินการสร้างโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและได้รับอนุญาตการสร้างตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 289 (พ.ศ. 2555) ใช้บังคับ 29 มิถุนายน 2554 เป็นต้นไป)

(85) เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีการซื้อขายผ่านระบบที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดให้มีขึ้นเพื่อเชื่อมโยงการซื้อขายกับตลาดหลักทรัพย์ในประเทศสมาชิกอาเซียน แต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายหลักทรัพย์ที่เป็นตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ตั๋วเงิน หรือหุ้นกู้

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 294 (พ.ศ. 2555) ใช้บังคับ 25 ธันวาคม 2555 เป็นต้นไป)

(86) เงินค่าตอบแทนพิเศษที่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยบำเหน็จความชอบสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2550 ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 295 (พ.ศ. 2555) ใช้บังคับ 9 มกราคม 2556 เป็นต้นไป)

(87) เงินได้ส่วนที่เป็นเงินค่าทดแทน เงินค่าตอบแทน หรือเงินอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันที่ได้รับเนื่องจากความเสียหายหรือเสื่อมประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการใช้อำนาจของรัฐตามที่กฎหมายกำหนด ในการเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ การเข้าใช้สอยหรือเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ หรือการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 301 (พ.ศ. 2556) ใช้บังคับ 15 พฤศจิกายน 2556 เป็นต้นไป)

(88) เงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนตามมาตรา 47 (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร เท่าจำนวนเงินที่บริจาคให้แก่กรมศิลปากรเพื่อการบูรณะโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคตามมาตรา 47 (7) แห่งประมวลรัษฎากรแล้วต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนดังกล่าว ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ. 2556 ที่ต้องยื่นรายการในปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 302 (พ.ศ. 2556) ใช้บังคับ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป)

(89) เงินได้ที่ได้รับจากส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ที่ได้รับจาก

(ก) การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมอันได้มาโดยทางมรดก หรือได้รับจากการให้โดยเสน่หา ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ตามส่วน 2 หมวด 3 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร

(ข) ดอกเบี้ยเงินฝากตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร และถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ดังกล่าวไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 309 (พ.ศ. 2558) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป)

(90) เงินได้เท่าที่สมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติจ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินห้าแสนบาท สำหรับปีภาษีนั้น และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนดเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง เมื่อรวมกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้ สำหรับกรณีที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตาม (35) หรือเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตาม (43) หรือเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนตาม (54) แล้วแต่กรณี หรือเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตาม (55) หรือเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญตาม (61) แล้ว ต้องไม่เกินห้าแสนบาท ในปีภาษีเดียวกัน

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 314 (พ.ศ. 2559) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป)

(91) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนการออมแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ เนื่องจากสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติทุพพลภาพ หรือสิ้นสมาชิกภาพเพราะอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หรือถือว่าเป็นกรณีที่สมาชิกมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หรือตาย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 314 (พ.ศ. 2559) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป)

(92) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป โดยหน่วยลงทุนดังกล่าวต้องเป็นหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ได้จากการโอน หรือเกี่ยวเนื่องจากการโอนมาจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ขายหน่วยลงทุนนั้นเมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่าห้าสิบห้าปีบริบูรณ์และมีระยะเวลาการเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับระยะเวลาถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีหรือทุพพลภาพหรือตาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 324 (พ.ศ. 2560)

(93) เงินได้ที่นักกีฬาและผู้ฝึกสอนกีฬาได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาส แห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อเป็นรางวัลอันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ เฉพาะส่วนที่เกินสิบล้านบาท ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 325 (พ.ศ. 2560) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป)

(94) เงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเงินฝากไว้กับธนาคารที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะในปีภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งแสนบาท ซึ่งการฝากเงินนั้นมีข้อตกลงว่าธนาคารผู้รับฝากเงินจะจ่ายเงินและผลประโยชน์ตามข้อตกลงโดยอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของผู้ฝากเงิน และมีกำหนดระยะเวลาการฝากเงินตั้งแต่สิบปีขึ้นไป ทั้งนี้ เมื่อรวมกับค่าลดหย่อนตามมาตรา 47 (1) (ง) แห่งประมวลรัษฎากร หรือเงินได้ตาม (61) วรรคหนึ่งแล้ว ต้องไม่เกินหนึ่งแสนบาท และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

(95) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ผู้มีเงินได้ได้รับเนื่องจากการฝากเงินกับธนาคารที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะและได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตาม (94)

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 326 (พ.ศ. 2560) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป)

(96) เงินได้ที่เป็นเงินเดือนหรือค่าตอบแทนที่ผู้จัดการทั่วไปและรองผู้จัดการทั่วไปของสำนักเลขานุการองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม ซึ่งเป็นคนต่างด้าว ได้รับจากสำนักเลขานุการองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม เนื่องจากการเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยภายใต้ ความตกลงการสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 332 (พ.ศ. 2560) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป)

(97) เงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยในปีภาษี ให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือ บริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักรสำหรับการประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินสองหมื่นห้าพันบาท ซึ่งเมื่อรวมกับค่าลดหย่อนตามมาตรา 47 (1) (ง) แห่งประมวลรัษฎากร หรือเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตาม (61) วรรคหนึ่ง หรือ (94) แล้วแต่กรณี ต้องไม่เกินหนึ่งแสนบาท ทั้งนี้ สำหรับเบี้ยประกันภัยที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 365 (พ.ศ. 2563) สำหรับเบี้ยประกันภัยที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด)

(98) เงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการ ซึ่งเป็นคนต่างด้าวและเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย โดยมีหนังสือรับรองความพิการจากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และมีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาทสำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 336 (พ.ศ. 2561) สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด)

(99) เงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสได้จ่ายเป็นค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรของตนตามจำนวนที่จ่ายจริงสำหรับการตั้งครรภ์แต่ละคราวแต่ไม่เกินหกหมื่นบาท หากการจ่ายค่าฝากครรภ์ และค่าคลอดบุตรสำหรับการตั้งครรภ์แต่ละคราวมิได้จ่ายในปีภาษีเดียวกัน ให้ได้รับยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริงในแต่ละปีภาษี แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินหกหมื่นบาท ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 338 (พ.ศ.2561) สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด)

(100) เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มูลนิธิพระดาบส มูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า หรือมูลนิธิเทพรัตนเวชชานุกูล”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 343 (พ.ศ.2562) ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2562 เป็นต้นไป)

"(101) เงินได้ดังต่อไปนี้

(ก) ดอกเบี้ยและรางวัลสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ แต่ไม่รวมถึงดอกเบี้ย ซึ่งผู้รับมิใช่ผู้ทรงคนแรก ทั้งนี้ สำหรับสลากออมทรัพย์ที่ออกจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป

(ข) ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ทั้งนี้ สำหรับดอกเบี้ยที่คำนวณตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 352 (พ.ศ.2562)ฯ)

“(102) เงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออมตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในอัตราไม่เกินร้อยละสามสิบของเงินได้พึงประเมิน เฉพาะส่วนที่ไม่เกินสองแสนบาท สำหรับปีภาษีนั้น โดยผู้มีเงินได้ต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออมไม่น้อยกว่าสิบปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุน แต่ไม่รวมถึงกรณีทุพพลภาพหรือตาย ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2567 และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง เมื่อรวมกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ สำหรับกรณีที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตาม (35) หรือเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตาม (43) หรือเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนตาม (54) แล้วแต่กรณี หรือเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตาม (55) หรือเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญตาม (61) หรือเงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติตาม (90) แล้ว ต้องไม่เกินห้าแสนบาทในปีภาษีเดียวกัน

ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออมตามกฎหมายว่าด้วย หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิให้เงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออมนั้นได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินสองแสนบาท สำหรับปีภาษีนั้น โดยผู้มีเงินได้ต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออมไม่น้อยกว่าสิบปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุน แต่ไม่รวมถึงกรณีทุพพลภาพหรือตาย ทั้งนี้ สำหรับการซื้อหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 363 (พ.ศ.2563) ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป)

ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในวรรคหนึ่งหรือวรรคสาม ให้ผู้มีเงินได้นั้นหมดสิทธิได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสาม และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสามมาแล้วด้วย”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 363 (พ.ศ.2563) ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป)

“(103) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการออมตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่เงินหรือผลประโยชน์ดังกล่าวคำนวณมาจากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตาม (102) และผู้มีเงินได้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุน แต่ไม่รวมถึงกรณีทุพพลภาพหรือตาย”



Article Number: 7
Author: Thu, Jul 28, 2022
Last Updated: Sun, Jul 31, 2022

Online URL: https://www.paseetax.com/article/กฎกระทรวง-ฉบับที่-126-40;พ-ศ-2509-41;-มาตรการยกเว้นเงินได้และลดหย่อนภาษี-40;update-41;-7.html