1. ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งและจ่ายให้แก่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง อาจเก็บภาษีได้ในอีกรัฐหนึ่งนั้น
2. อย่างไรก็ตาม ดอกเบี้ยเช่นว่านั้นอาจเก็บภาษีได้ในรัฐผู้ทำสัญญาซึ่งดอกเบี้ยนั้นเกิดขึ้นและเป็นไปตามกฎหมายของรัฐนั้น แต่ถ้าเจ้าของผลประโยชน์ในดอกเบี้ยเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง ภาษีที่เรียกเก็บจะต้องไม่เกิน
(ก) ร้อยละ 10 ของจำนวนดอกเบี้ยทั้งสิ้น ถ้าดอกเบี้ยนั้นได้รับโดยสถาบันการเงินใด ๆ (รวมทั้ง บริษัทประกันภัย)
(ข) ร้อยละ 15 ของจำนวนดอกเบี้ยทั้งสิ้น ในกรณีอื่นๆ
3. แม้จะมีบทบัญญัติของวรรค 2 ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง และจ่ายให้แก่รัฐบาลของรัฐ ผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง จะได้รับยกเว้นภาษีจากรัฐผู้ทำสัญญาที่กล่าวถึงรัฐแรก เพื่อความมุ่งประสงค์ของวรรคนี้ คำว่า "รัฐบาล"
(ก) ในกรณีของประเทศกัมพูชา หมายถึง รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา และให้รวมถึง
(1) ธนาคารชาติแห่งกัมพูชา หรือองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นใดๆ
(2) ธนาคารพัฒนาชนบท
(3) องค์กรตามกฎหมายใดๆ และ
(4) สถาบันใดๆ ตามที่อาจตกลงกันเป็นคราวๆ ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐ
(ข) ในกรณีของประเทศไทย หมายถึง รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และให้รวมถึง
(1) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(2) ธนาคารเพื่อการส่งออก-นำเข้าแห่งประเทศไทย
(3) กระทรวงหรือกรมใดๆ
(4) องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นใดๆ
(5) นิติบุคคลใดๆ ซึ่งรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นเจ้าของทั้งหมด และ (
6) สถาบันใดๆ ตามที่อาจตกลงกันเป็นคราวๆ ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐ
4. คำว่า " ดอกเบี้ย" ที่ใช้ในข้อนี้ หมายถึง เงินได้จากสิทธิเรียกร้องหนี้ทุกชนิด ไม่ว่าจะมีหลักประกัน จำนองหรือไม่ และไม่ว่าจะมีสิทธิร่วมกันในผลกำไรของลูกหนี้หรือไม่ และโดยเฉพาะเงินได้จากหลักทรัพย์ รัฐบาล และเงินได้จากพันธบัตรหรือหุ้นกู้ รวมทั้งพรีเมี่ยมและรางวัลอันผูกพันกับหลักทรัพย์ พันธบัตรหรือ หุ้นกู้เช่นว่านั้น รวมทั้งจำนวนอื่นใดที่ถือเป็นเงินได้จากการให้กู้ยืมเงินตามกฎหมายภาษีอากรของรัฐ ผู้ทำสัญญาซึ่งเงินได้นั้นเกิดขึ้น
5. บทบัญญัติของวรรค 1 และ 2 จะไม่ใช้บังคับ ถ้าเจ้าของผลประโยชน์ในดอกเบี้ยเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งประกอบธุรกิจในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง ซึ่งดอกเบี้ยนั้นเกิดขึ้นโดยผ่านสถานประกอบการถาวรที่ตั้งอยู่ในรัฐอีกรัฐหนึ่งนั้น หรือให้บริการส่วนบุคคลที่เป็นอิสระในอีกรัฐหนึ่งจาก ฐานประกอบการประจำที่ตั้งอยู่ในอีกรัฐหนึ่งนั้น และสิทธิเรียกร้องหนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยที่จ่าย มีส่วนเกี่ยวข้องในประการสำคัญกับสถานประกอบการถาวรหรือฐานประกอบการประจำนั้น ในกรณีเช่นว่านี้ จะใช้บทบัญญัติของ ข้อ 7 หรือข้อ 15 บังคับ แล้วแต่กรณี
6. ดอกเบี้ยจะถือว่าเกิดขึ้นในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง เมื่อผู้จ่ายคือผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐนั้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีบุคคลผู้จ่ายดอกเบี้ยไม่ว่าจะเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งหรือไม่ก็ตาม มีสถานประกอบการ ถาวรหรือฐานประกอบการประจำในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง อันก่อให้เกิดหนี้ที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยนั้น และดอกเบี้ย นั้นตกเป็นภาระแก่สถานประกอบการถาวรหรือฐานประกอบการประจำนั้น ดอกเบี้ยเช่นว่านั้นจะถือว่าเกิดขึ้น ในรัฐซึ่งสถานประกอบการถาวรหรือฐานประกอบการประจำนั้นตั้งอยู่
7. ในกรณีที่โดยเหตุแห่งความสัมพันธ์พิเศษระหว่างผู้จ่ายและเจ้าของผลประโยชน์ หรือระหว่างบุคคล ทั้งสองนั้นกับบุคคลอื่น จำนวนดอกเบี้ยที่จ่ายนั้น เมื่อคำนึงถึงสิทธิเรียกร้องหนี้อันเป็นมูลเหตุแห่งการ จ่ายดอกเบี้ยแล้ว มีจำนวนเกินกว่าจำนวนที่พึงตกลงกันระหว่างผู้จ่ายกับเจ้าของผลประโยชน์หากไม่มี ความสัมพันธ์เช่นว่านั้น บทบัญญัติของข้อนี้ให้ใช้บังคับเฉพาะกับเงินที่กล่าวถึงจำนวนหลัง ในกรณีเช่นว่านี้ ส่วนเกินของเงินที่ชำระนั้นให้ยังคงเก็บภาษีได้ตามกฎหมายของรัฐผู้ทำสัญญาแต่ละรัฐ ทั้งนี้โดยคำนึงถึง บทบัญญัติอื่นๆ แห่งความตกลงนี้ด้วย
Article Number: 7007
Author: Thu, Jul 28, 2022
Last Updated: Sat, Aug 20, 2022
Online URL: https://www.paseetax.com/article/ข้อ-11-ดอกเบี้ย-7007.html