ข้อ 21 การขจัดการเก็บภาษีซ้อน


1. ภายใต้บังคับกฎหมายของประเทศไทยในส่วนที่เกี่ยวกับการยอมให้ถือเป็นเครดิตต่อภาษีไทยของภาษีที่พึงชำระในประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากประเทศไทย ในกรณีที่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้รับเงินได้จากประเทศญี่ปุ่นซึ่งอาจเก็บภาษีได้ในประเทศญี่ปุ่นตามบทบัญญัติแห่งอนุสัญญานี้ จำนวนภาษีญี่ปุ่นที่พึงชำระในส่วนที่เกี่ยวกับเงินได้นั้นจะยอมให้ถือเป็นเครดิตต่อภาษีไทยที่ตั้งบังคับจัดเก็บจากผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย อย่างไรก็ดี จำนวนเครดิตนั้นจะต้องไม่เกินกว่าส่วนของภาษีไทย ซึ่งเหมาะสมกับเงินได้นั้น

2. ภายใต้บังคับกฎหมายของประเทศญี่ปุ่นในส่วนที่เกี่ยวกับการยอมให้ถือเป็นเครดิตต่อภาษีญี่ปุ่นของภาษีที่พึงชำระในประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่น

(ก) ในกรณีที่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นได้รับเงินได้จากประเทศไทย ซึ่งอาจเก็บภาษีได้ในประเทศไทยตามบทบัญญัติในอนุสัญญานี้ จำนวนภาษีไทยที่พึงชำระในส่วนที่เกี่ยวกับเงินได้นั้นจะยอมให้ถือ เป็นเครดิตต่อภาษีญี่ปุ่นที่ตั้งบังคับจัดเก็บจากผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ ญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี จำนวนเครดิตนั้นจะต้องไม่เกินกว่าส่วนของภาษีที่ ญี่ปุ่นซึ่งเหมาะสมกับเงินได้นั้น

(ข) ในกรณีที่เงินได้รับจากประเทศไทยเป็นเงินปันผลที่จ่ายโดยบริษัท ซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยให้แก่บริษัทที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ ญี่ปุ่นและซึ่งเป็นเจ้าของไม่ร้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นที่มีสิทธิออก เสียงของบริษัทที่จ่ายเงินปันผลหรือของหุ้นทั้งหมดที่ออกโดย บริษัทนั้น การเครดิตนั้นจะต้องคำนึงถึงภาษีไทยที่พึงชำระโดย บริษัทที่จ่ายเงินปันผลในส่วนที่เกี่ยวกับเงินได้ที่จ่ายเงินปันผลนั้น เอง

3. ภายใต้บังคับบทบัญญัติของวรรค 4 เพื่อความมุ่งประสงค์ของการเครดิตที่ระบุไว้ในวรรค 2 (ก) ข้างต้น คำว่า "ภาษีไทยที่พึงชำระ" จะให้ถือว่ารวมถึงจำนวนภาษีไทยซึ่งควรจะได้ชำระ ถ้าภาษีไทยนั้นมิได้รับการลดหย่อนตามบทบัญญัติของวรรค 2 ของข้อ 10 หรือวรรค 2 และวรรค 5 ของข้อ 12

4.

(ก) เพื่อความมุ่งประสงค์แห่งการเครดิตที่ระบุไว้ในวรรค 2 ข้างต้น คำ ว่า "ภาษีไทยที่พึงชำระ" จะให้ถือว่ารวมถึงจำนวนภาษีไทยซึ่งควร จะได้ชำระภายใต้กฎหมายของประเทศไทย ถ้าภาษีไทยนั้นมิได้รับ การลดหย่อนหรือยกเว้นตาม

(1) บทบัญญัติของมาตรา 31, 33, 34, 35 (2), 35 (3), 35 (4) หรือ 36 (4) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 (1977) ซึ่งมีผลบังคับใช้อยู่ในวันที่ลงนามในอนุสัญญานี้ หรือ

(2) บทบัญญัติใดๆ ที่ระบุใน (1) ข้างต้น ซึ่งได้เปลี่ยนแปลง ภายหลังจากวันที่ลงนามในอนุสัญญานี้หรือมาตรการจูงใจพิเศษอื่นใดที่มุ่งหมายจะส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจในประเทศไทย ซึ่งอาจนำมาใช้ในอนาคตในกฎหมายภาษี ไทยในการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมจาก มาตรการที่เป็นอยู่ใน (1) ข้างต้น หากได้มีการตกลงกันแล้ว ระหว่างรัฐบา ทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับขอบเขตของสิทธประโยชน์ของผู้เสียภาษีตามบทบัญญัติที่ได้เปลี่ยนแปลงหรือตามมาตรการดังกล่าว

(ข) บทบัญญัติของอนุวรรค (ก) (1) ข้างต้น ในเรื่องที่เกี่ยวกับมาตรา 35 (3) หรือ 36 (4) ของพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 (1977) จะไม่ใช้บังคับในส่วนที่เกี่ยวกับเงินได้ในแต่ละรายที่ เกิดขึ้นหลังจากปีภาษีที่สิบสามนับแต่การยกเว้นหรือลดหย่อนภาษี ไทยที่ยอมให้ครั้งแรกตามบทบัญญัติของมาตราดังกล่าวหรือนับแต่ อนุสัญญานี้มีผลบังคับ แล้วแต่อย่างไหนจะช้ากว่า

5. เพื่อความมุ่งประสงค์ของวรรค 3 และวรรค 4 ข้างต้น ส่วนที่เกี่ยวกับเงินปันผล ค่าสิทธิ หรือเงินที่ได้รับซึ่งบทบัญญัติของวรรค 2 ของข้อ 10 หรือ วรรค 2 หรือ วรรค 5 ของข้อ 12 ใช้บังคับได้ แล้วแต่กรณี การเครดิตใดๆ ต่อภาษีญี่ปุ่นที่ยอมให้ตามบทบัญญัติของวรรค 2 (ก) และวรรค 3 หรือ วรรค 4 (ก) ข้างต้น จะไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนเงินปันผล ค่าสิทธิ หรือเงินที่ได้รับทั้งสิ้น



Article Number: 7078
Author: Thu, Jul 28, 2022
Last Updated: Thu, Jul 28, 2022

Online URL: https://www.paseetax.com/article/ข้อ-21-การขจัดการเก็บภาษีซ้อน-7078.html